อาตมาอยากจะชี้ประเด็นให้เห็นว่าในสมัยพุทธกาลนั้นไม่นิยมในการที่ผู้หญิงจะออกบวช วัฒนธรรมของอินเดียนั้นผู้หญิงจะหลุดพ้นได้เพียงอย่างเดียวก็คือการที่มีภักดีต่อสามี นี่ก็คือทีท่าของอินเดียโบราณ เพราะฉะนั้นการที่ผู้หญิงจะขอบวชในสมัยพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าจึงจำเป็นที่จะต้องไตร่ตรองให้รอบคอบ การลังเลพระทัย การปฏิเสธสามครั้งแรกจึงเป็นช่วงที่พระองค์พิจารณาดูความเหมาะสม สมควรหรือไม่ที่จะให้ผู้หญิงออกบวช ในท้ายที่สุดพระอานนท์รับสั่งถามว่าผู้หญิงผู้ชายมีศักยภาพในการเข้าถึงธรรมเช่นเดียวกันหรือไม่ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงยืนยันว่า ทั้งผู้หญิงผู้ชายมีศักยภาพในการเข้าถึงธรรม ในการบรรลุธรรมเช่นเดียวกัน สาระข้อนี้เป็นสาระที่สำคัญยิ่งในพุทธศาสนา เพราะไม่มีศาสนาอื่นก่อนหน้าที่ที่กล้าที่จะรับรองความสามารถของหญิงชายทัดเทียมกันเช่นนี้ หมายความว่า ศาสนาพุทธนั้นเป็นศาสนาแรกในโลกที่เปิดประตูของการเข้าสู่อิสรภาพทางจิตวิญญาณว่าไม่ได้จำกัด โดยเพศ สีผิว หรือวรรณะ คุณโยมจะจำได้ว่าก่อนหน้านี้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงยกเลิกวรรณะซึ่งเป็นโครงสร้างทางสังคมที่สำคัญของวัฒนธรรมอินเดียไปแล้ว ทรงยกเลิกความแตกต่างทางวรรณะ ทรงยกเลิกความแตกต่างความ เชื้อชาติวรรณะสีผิวและเพศ นี่เป็นจุดสำคัญของพุทธศาสนาที่ทำให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาโลก ไม่ใช่เป็นศาสนาที่จำกัดอยู่เฉพาะในดินแดนอินเดียเท่านั้น อันนี้คือความงดงาม เป็นประกายที่ทำให้พุทธศาสนาเจิดจรัสอยู่ในโลกของศาสนาแห่งโลก เมื่อเราจับประเด็นตรงนี้ได้ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทานอนุญาตให้ผู้หญิงบวช เพราะผู้หญิงสามารถบรรลุธรรมได้เช่นเดียวกับผู้ชาย เสร็จแล้วองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ทรงมอบหมายว่าพุทธศาสนานี้ต่อไปในอนาคตจะเสื่อมหรือจะเจริญมอบหมายเอาไว้ให้ขึ้นอยู่กับการดูแล การปฏิบัติของพุทธบริษัท4 อันได้แก่ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ทรงรับสั่งด้วยว่าต่อไปพระศาสนาจะเสื่อมเมื่อ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ไม่เคารพยำเกรงในพระพุทธพระธรรม พระสงฆ์ ไม่เคารพยำเกรงในสิกาและสมาธิ อีกแห่งหนึ่งรับสั่งด้วยว่า พุทธศาสนาที่ท่านเรียกว่าพระสัจธรรม ในต่อไปในอนาคตข้างหน้าพระสัจธรรมจะเสื่อมเมื่อพุทธบริษัท4 ไม่เคารพซึ่งกันและกัน ตอนนี้อาตมาจะนำคุณโยมมาถึงประเด็นในปัจจุบันที่เราถกเถียงกันว่าควรจะมีภิกษุณีหรือไม่ โดยพระธรรมวินัยที่วางเอาไว้โดยองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระพุทธบิดรนั้น สมควรอย่างยิ่งที่จะให้มีภิกษุณีเกิดขึ้น เพื่อเป็นไปตามที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทานอนุญาต ไว้วางใจให้เราสี่คนสี่กลุ่มช่วยกันดูแลสืบสานพระศาสนา ความพยายามของผู้หญิงที่จะก้าวเข้ามาอยู่ในเรื่องราวของพระศาสนาเป็นพระภิกษุณีสงฆ์ก็เป็นไปตามพุทธประสงค์ทุกประการ คราวนี้ก้าวเข้ามาดูเงื่อนไขในประเทศไทย |
การบวชภิกษุณีสงฆ์ | ผู้บวชและผู้สนับสนุน | วิถีชีวิตของชาวพุทธ | พระคุ้มครองเราอย่างไร | เซน |
ราหุลสูตร | ทำงานอย่างไรให้เป็นกุศล | อายุขัย | เอาชนะทุกข์จากความพลัดพราก | ความรักของพ่อ |
ความรักของแม่ | ชาล้นถ้วย |
สถานที่ติดต่อ
วัตรทรงธรรมกัลยาณี
เลขที่ 195 ถนนเพชรเกษม ต.
พระประโทน
อ. เมืองฯ จ. นครปฐม 73000
โทร. (034) 258-270 โทรสาร (034) 284-315
ติชม [email protected]
v