ประเทศไทยไม่เคยมีภิกษุณีสงฆ์มาก่อน เหตุการณ์ครั้งแรกที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ของพุทธศาสนา ของประวัติศาสตร์ในประเทศไทยก็คือเหตุการณ์ พ.ศ.2470 เมื่อนรินทร์กลึง ซึ่งเดิมเป็นพระยา เป็นคนหนุ่มมากได้รับตำแหน่งเป็นพระยาสมัยนั้นชื่อตัวว่ากลึง ชื่อโดยตำแหน่งว่าพระยานรินทร์ภาษิต แต่ว่าคนโดยทั่วๆไปมักจะเรียกกันว่านรินทร์ กลึง ซึ่งเป็นนักการเมือง เป็นนักวิพากษ์สังคม เป็นนักวิพากษ์ศาสนา เป็นนักวิพากษ์คณะรัฐบาลด้วย มีเป็นคนที่มีความคิดก้าวหน้าหลายอย่างหลายประการ ประการหนึ่งก็คือการที่จะทำให้พระศาสนามีพุทธบริษัทครบองค์ โดยจัดการให้ลูกสาวสองคนก็คือคุณสาระกับคุณจงดี บวชเป็นสามเณรี นอกเหนือจากคุณสาระและคุณจงดีแล้ว แล้วก็ยังมีสามเณรีองค์อื่นๆ บวชรวมกันทั้งหมด8รูป มีหลักฐานปรากฏ มีรูปถ่ายปรากฏจนถึงทุกวันนี้ แต่ในสมัยนั้นปัญหาเรื่องการบวชภิกษุณี ไม่ใช่ปัญหาเรื่องการบวชภิกษุณีในตัวของมันเอง แต่ปัญหาอุปสรรคมันอยู่ที่ตัวของคุณนรินทร์ กลึงซึ่งเป็นพ่อ เนื่องจากคุณนรินทร์ กลึงเป็นผู้ที่วิพากษ์นายกรัฐมนตรี ใช้คำที่รุนแรงด่า ไอ้อีทีเดียว วิพากษ์คณะสงฆ์ วิพากษ์ถึงความเหลอะแหละความหละหลวมของการปฏิบัติของภิกษุสงฆ์ในสมัยนั้นค่อนข้างจะรุนแรง ทำให้เกิดศัตรูทั้งสถาบันกษัตริย์ทั้งสถาบันของรัฐและทั้งสถาบันสงฆ์ ไม่มีใครที่จะพอใจคุณนรินทร์ กลึงเลย คุณนรินทร์ กลึง สร้างศัตรูรอบด้าน แล้วในท้ายที่สุดในวิธีการที่จะขจัดคุณนรินทร์ กลึง รัฐก็ใช้วิธีบีบภิกษุณีสงฆ์โดยการจับสึกมีคำสั่งให้จับสึกเพราะว่าบวชไม่ถูกต้อง ภาพที่เราเห็นในหนังสือที่ตกทอดมาจนถึงเราทุกวันนี้ก็ค่อนข้างจะตกใจว่าตำรวจเนี่ย ดึงทึ้งจีวรออกจากร่างของสามเณรีน้อยสองนางนี้ในขณะที่ตัวของนางม้วนกลิ้งอยู่กับพื้นแล้วมีตำรวจฉุกกระชากลากจีวรออกมา แล้วก็ถูกจำคุกที่คุกจังหวัดนนทบุรี เมื่อออกมาจากที่คุมขังแล้ว สามเณรีสองรูปนี่เปลี่ยนสีจีวร เปลี่ยนไปครองจีสรสีอื่นแล้วก็ยังดำรงชีวิตเป็นนักพรตนักบวชอยู่ แต่ในท้ายที่สุดมาลงเอยโดยที่ว่าเมื่อคุณสาระออกบิณฑบาต ก็มีปลัดคนหนึ่งขี่ม้ามาแล้วก็ฉกตัวขึ้นหลังม้าไป แล้วก็เป็นจุดจบเป็นอวสานของภิกษุณีในสมัยพ.ศ.2471 เราไม่ทราบว่า ปลัดเช้า สุวรรณสรศ ที่มาฉกเอาตัวสามเณรีขึ้นหลังม้าไป เป็นความต้องการของปลัดเช้าเอง หรือเป็นวิธีการของรัฐที่จะจัดการกับการบวชภิกษุณีในสมัยนั้น เราไม่ทราบเงื่อนไขที่แท้จริง แต่อันนั้นก็ทำให้ภิกษุณีสงฆ์ต้องมีอันยุติไป เหตุการณ์สืบต่อมาก็คือคณะสงฆ์ออกคำสั่ง ซึ่งกลายเป็นพ.ร.บ.คณะสงฆ์พ.ศ.2471 ห้ามไม่ให้พระภิกษุไทยบวชผู้หญิงเป็นสามเณรีผิดธรรมดาหรือภิกษุณี พ.ร.บ.นี้ยังคงอยู่จนถึงปัจจุบันนี้ อาตมาพิจารณาในบริบทของกาลเวลานะคะสมัยนั้นประเทศยังเป็นสมบูรณาญาสิทธิราชการออกคำสั่งอย่างนั้นเพื่อจัดการกับปัญหาของนรินทร์ กลึง ให้ลูกสาวบวชก็ดูเหมือนว่าน่าจะเหมาะสมกับกาลเวลาสมัยนั้น บัดนี้70ปีผ่านไป เราอยู่ในสมัยพ.ศ.2545 เราอยู่ในสมัยของประชาธิปไตย เราอยู่ในสมัยของ globalization เราอยู่ในสมัยของโลกาภิวัตน์ อยู่ในสมัยของสื่ออยู่ในสมัยของโลกเปิดกว้าง สิทธิมนุษย์หญิงชายเท่าเทียมกัน บรรดาผู้หญิงในโลกปัจจุบันก็มีความรู้ความสามารถทัดเทียมกับผู้ชายในทุกๆด้าน เราย้อนกลับไปพิจารณาว่าคำสั่งนี้ 2471 ที่ห้ามไม่ให้พระภิกษุบวชผู้หญิงเป็นคำสั่งที่ถูกต้องในบริบทของกาลเวลาหรือไม่ เป็นคำสั่งที่ถูกต้องโดยพระธรรมวินัยโดยเจตจำนงของพระธรรมวินัยหรือไม่ เป็นคำสั่งที่ถูกต้องโดยเจตนารมณ์ของกฎหมายหรือไม่ โดยจะเห็นว่ามันมีความขัดแย้งกันอยู่ อาตมาพาคุณโยมย้อนกลับไปสมัยปฐมสังคายนา สมัยปฐมสังคายนานั้นเป็นช่วงสามเดือนหลังจากที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ได้มีการประชุมสงฆ์ซึ่งเป็นพระอรหันต์ 500 รูป โดยการนำของมหากัสสปะ พระอานนท์เป็นผู้สวดพระสูตร พระอุบาลีเป็นผู้สวดพระวินัย ได้มีการตกลงกันว่า พระธรรมวินัยที่ได้วางเอาไว้โดยองค์สมเด็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะไม่มีการเพิกถอนจะไม่มีการเพิ่มเติม คุณโยมจับประเด็นตรงนี้นะคะไม่มีการเพิกถอนและไม่มีการเพิ่มเติม แล้วนำมาพิจารณากับเหตุการณ์ปัจจุบันในประเทศไทยนะคะจะเห็นว่า ประเทศไทยซึ่งถือว่าเป็นเถรวาทนั้นก็ได้มีการเพิ่มเติม พ.ร.บ.2471 นี่เป็นการเพิ่มเติมจากพระธรรมวินัยเดิม พิจารณาด้วยความเที่ยงตรงนะคะต่อไปด้วยว่าพระธรรมวินัยเท่าที่เป็นอยู่ขณะนี้เราจะสามารถรักษาไว้เหมือนเดิมหรือไม่ก็จะเห็นว่ามีศีลสิกขาบทหลายข้อที่ละเลยไม่ได้ปฏิบัติ อันนี้อาตมาคงไม่ต้องพูดในรายละเอียดเพราะว่าคณะสงฆ์จะทราบดี ถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราจะพิจารณาว่าการที่เราจะถือมั่นตามคำสั่ง 2471 นั้นเป็นคำสั่งที่ไม่เหมาะสมโดยสภาวะกาลขัดต่อหลักพระธรรมวินัยเดิมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขัดต่อรัฐธรรมนูญปัจจุบัน ซึ่งรัฐธรรมนูญปัจจุบันนั้น มาตรา4,5 มาตรา38 ถ้าจำไม่ผิดนะคะเปิดโอกาสให้ผู้หญิงผู้ชายมีสิทธิเสรีภาพทัดเทียมกันในปฏิบัติศาสนาในการปฏิบัติพิธีกรรมต่างๆตามความเชื่อของตนเอง การที่ห้ามไม่ให้พระภิกษุบวชผู้หญิงเป็นภิกษุณี เป็นสามเณรีนี้ขัดต่อเจตนารมณ์ขัดต่อคำสั่งเดิมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นการบั่นทอนไม่ให้โอกาสกับผู้หญิงในการที่จะปฏิบัติธรรมในประเทศบ้านเกิดเมืองนอนของตนเอง ในขณะที่ผู้หญิงหลายๆประเทศ แม้ประเทศที่ไม่ใช่พุทธศาสนา เช่นอินโดนีเซีย ที่รัฐบาลเป็นรัฐบาลมุสลิมแม้กระนั้นก็มีภิกษุณีสงฆ์ ประเทศในโลกตะวันตกไม่ว่าจะเป็นเชกโกสโลวาเกีย ไม่ว่าจะเป็นรัสเซียเดิมก็มีสามเณรีก็มีภิกษุณี เวลานี้ภิกษุณีได้เจริญเติบโตในอเมริกา อังกฤษ เยอรมันและหลายประเทศในโลกตะวันตก แม้กระทั่งสวีเดนที่ขึ้นไปทางเหนือมากเลย ก็ยังมีภิกษุณี โลกตะวันออก ไต้หวัน เป็นศูนย์กลางในการบวชภิกษุณี ภิกษุณีสงฆ์ ในฮ่องกงก็มีภิกษุณี ในเกาหลีภิกษุณีสงฆ์ก็มีความมั่นคงแข็งแรงทีเดียว อาตมาให้ กว้างๆเช่นนี้ เพื่อเป็นข้อมูลให้คุณโยมนำมาสู่ ข้อระบุโดยวิจารณญาณของคุณโยมเอง ว่าในฐานะที่คุณโยมเป็นบริษัทหนึ่งในพุทธบริษัทที่พระพุทธบิดาทรงมอบหมานให้ดูและพระศานาด้วยกันนี้ คุณโยมคิดว่าควรจะมีภิกษุสงฆ์หรือไม่ และคุณโยมจะช่วยเหลือเกื้อกูลตามพระธรรมวินัยและเจตนารมณ์ของพุทธองค์ได้อย่างไร |
การบวชภิกษุณีสงฆ์ | ผู้บวชและผู้สนับสนุน | วิถีชีวิตของชาวพุทธ | พระคุ้มครองเราอย่างไร | เซน |
ราหุลสูตร | ทำงานอย่างไรให้เป็นกุศล | อายุขัย | เอาชนะทุกข์จากความพลัดพราก | ความรักของพ่อ |
ความรักของแม่ |
ชาล้นถ้วย
![]() |
สถานที่ติดต่อ วัตรทรงธรรมกัลยาณี
เลขที่ 195 ถนนเพชรเกษม ต.
พระประโทน
อ. เมืองฯ จ. นครปฐม 73000
โทร. (034) 258-270 โทรสาร (034) 284-315
ติชม [email protected]