|
เพราะฉะนั้นธรรมะที่จะเป็นสรณะที่พึ่งที่ระลึกถึงให้กับเราได้ก็ คือการทำความเข้าใจในธรรมชาติว่ามันเป็นธรรมดาอย่างนี้เอง ที่มันจะต้องเป็นอนิจจัง เป็นทุกขัง เป็นอนัตตา สิ่งใดก็ตามที่เกิด สิ่งนั้นตั้งอยู่แล้วมันก็จะดับไป คุณโยมมีความสุขมาก มันก็เกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป คุณโยมมีความทุกข์เหลือเกินเวลานี้ มันก็เกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไปเหมือนกัน ไม่มีความสุขความทุกข์ใดที่จะจีรัง เที่ยงแท้ แน่นอน ยั่งยืน เพราะฉะนั้นเวลาที่มีความสุขเราก็ไม่เหลิง เวลาที่มีความทุกข์เราก็ไม่ตกใจ เราก็ไม่หวั่นไหว เพราะเรารู้ว่าธรรมชาติของความทุกข์ประเดี๋ยวมันก็หมดไปนี่คือธรรมะที่จะเป็นสรณะที่พึ่งที่ระลึกถึง ที่จะประคับประคองจิตของเราให้ในท้ายที่สุดเป็นจิตที่เข้าสู่เข้าถึงซึ่งการตรัสรู้ทีนี้มาถึง สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ พระสงฆ์ที่จะเป็นที่พึ่งที่ระลึกถึงให้กับเราได้ก็คือพระสงฆ์ที่มุ่งมั่นอยู่ในธรรมะ พระสงฆ์นี้มี 2 อย่างก็คืออริยสงฆ์ อริยสงฆ์ไม่จำกัดว่าต้องะเป็นภิกษุหรือภิกษุณี แม้เป็นฆราวาส อุบาสก อุบาสิกาถ้าหากว่าบรรลุธรรมก็เป็นอริยสงฆ์ได้ทั้งสิ้น แต่ในปัจจุบัน ผู้ที่จะเข้าถึงอรหัตผลนั้นน้อยลงเพราะฉะนั้นเราจึงมีอีกอย่างนึงที่เรียกว่า สมมุติสงฆ์ พระสงฆ์ที่สมมุติขึ้น สมมุติขึ้นโดยการบวช เช่น ภิกษุ ภิกษุณีนี้เป็นสมมุติสงฆ์ แต่สมมุติสงฆ์นี้ก็สามารถจะเป็นสรณะให้กับเราได้ ถ้าหากว่าสมมุติสงฆ์นี้เป็นพระสงฆ์ที่เพียรพยายามเข้าถึงธรรมะ สามารถที่จะเป็นแนวทาง เป็นตัวอย่างในชีวิตการปฏิบัติ เป็นแนวทางในการศึกษาแสวงหาความรู้ในการที่เราจะเข้าถึงความหลุดพ้นในท้ายที่สุด อริยสงฆ์ แน่นอนที่สุดเป็นที่พึ่งที่ระลึกถึงให้กับเราได้ สมมุติสงฆ์ คุณโยมก็ต้องมีปัญญาเลือกสมมุติสงฆ์ที่ไปในแนวทางที่จะมุ่งเข้าสู่ความหลุดพ้นในท้ายที่สุดเหมือนกันลักษณะนี้เมื่อเรากล่าวคำว่า พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ เมื่อนั้นแหละ เราจึงจะเป็นชาวพุทธ ในความหมายที่แท้จริง ของศัพท์ที่เราเรียกตัวเองว่า เราเป็นชาวพุทธ ความเข้าใจในเรื่อง ไตรสรณคมน์ ก็คือการยึดมั่น ถือมั่น ในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ถือว่าเป็นพื้นฐานความเข้าใจของชาวพุทธ ถ้าหากเรามีความเข้าใจเช่นนี้ หลักความคิด หลักความเชื่อ หลักการปฏิบัติของเรา ก็จะไม่เหหัน ไม่พาให้เราหลงไปไกล อาตมาดีใจที่วันนี้พวกเราลูกหลาน สมาชิกตั้งใจมาที่วัด บางคนมาไกลมาก ถ้าไม่มีความอุตสาหะ ถ้าไม่มีศรัทธา ถ้าไม่มีวิริยะ มาไม่ถึง บางคนต้องขับรถมาเป็น 200 300 กิโล เพื่อที่จะมาร่วมกันปฏิบัติธรรม สิ่งนี้ก็เป็นสิ่งที่อาตมาโมทนาด้วยอย่างยิ่ง และขอให้คุณโยมทุกคนตั้งมั่นอยู่ในความเข้าใจที่ถูกต้อง ในเรื่องไตรสรณคมน์ เพียรพยายามที่จะทำให้ตัวเองเข้ามาใกล้พระพุทธเจ้าให้มากขึ้น อาราธนาพระพุทธเจ้าให้ตรึก อยู่ในใจของเราตลอดเวลา ให้กาย วาจา ใจของเราตั้งมั่นอยู่ในพุทธะอย่างแท้จริง ไม่ใช่พุทธะเพียงแต่ริมฝีปากว่า พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ เท่านั้น แต่อาราธนาพุทธะให้เกิดขึ้นในดวงใจของเรา อาราธนาพุทธะให้ประจำอยู่ที่กาย ให้ประจำอยู่ที่วาจาตลอดเวลา เราทั้งหลายก็จะเป็นผู้ที่มีแนวทางชัดเจนในการปฏิบัติ และสามารถที่จะก้าวล่วงความทุกข์ได้ทุกคน |
การบวชภิกษุณีสงฆ์ | ผู้บวชและผู้สนับสนุน | วิถีชีวิตของชาวพุทธ | พระคุ้มครองเราอย่างไร | เซน |
ราหุลสูตร | ทำงานอย่างไรให้เป็นกุศล | อายุขัย | เอาชนะทุกข์จากความพลัดพราก | ความรักของพ่อ |
ความรักของแม่ | ชาล้นถ้วย |
สถานที่ติดต่อ
วัตรทรงธรรมกัลยาณี
เลขที่ 195 ถนนเพชรเกษม ต.
พระประโทน
อ. เมืองฯ จ. นครปฐม 73000
โทร. (034) 258-270 โทรสาร (034) 284-315
ติชม [email protected]