3.1 การสืบเชื้อสายของภิกษุณีสงฆ์
         
             สถาบันภิกษุณีเจริญควบคู่กับสถาบันภิกษุสงฆ์  และทำหน้าที่เผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศอินเดียเรื่อยมา  พระพุทธศาสนาได้รับการยอมรับและเจริญสูงสุด  ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช[1]   ขึ้น      ครองราชย์  ..  248  พระองค์ทรงเกิดความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาจนได้ประกาศตนเป็นองค์อุปถัมภ์ในการทำสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่  3  โดยมีพระโมคคัลลาบุตรเป็นผู้นำในการทำสังคายนา  พระเจ้าอโศกได้ทรงสนับสนุนการเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างกว้างขวางทั้งในและต่างประเทศ โดยแบ่งสายการเผยแผ่ออกเป็น 9  สาย  สายที่ 8  นำโดย  พระโสณะ  และพระอุตระ  มายังสุวรรณภูมิ

          การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในสมัยพระเจ้าอโศกไปยังต่างแดนนั้น สายที่เกี่ยวข้องกับการบวชภิกษุณีนั้นเป็นสายที่นำโดยพระมหินทร์เถระ ซึ่งเป็นพระโอรสของพระเจ้าอโศก  ได้เดินทางไปยังลังกา  ต่อมาพระนางอนุฬา  พระชายาในพระอนุชาของพระเจ้าเทวานัมปิยะติสสะ  แห่งลังกาทรงบังเกิดความเลื่อมใสพระพุทธศาสนา   และดำริที่จะออกบวช  พระมหินทร์เถระจึงทรงแนะนำให้พระเจ้าเทวานัมปิยะติสสะ  ส่งราชทูตถึงพระเจ้าอโศกมหาราช  ขอทูลเชิญพระนางสังฆมิตตาเถรีพระธิดาของพระเจ้าอโศกได้บวชเป็นภิกษุณีอยู่แล้ว  เดินทางจากชมพูทวีปไปยังลังกา      หลักฐานในการต้อนรับพระนางสังฆมิตตาเถรีของพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะนี้จิตรกรได้บันทึกเหตุการณ์ไว้ที่ผนังวัดกัลยาณี  ในเมืองโคลอมโบ  ยังมี ปรากฎจนทุกวันนี้  พระนางสังฆมิตตาเถรีได้รับศรัทธา  และการยอมรับจากชาวศรีลังกามาก  ปัจจุบัน
ศรีลังกามีพิธีทางศาสนาเพื่อระลึกถึงพระนางสังฆมิตตาเถรีทุกปีในวันขึ้น  15  ค่ำ  เดือน  1
  คัมภีร์ทีปวงศ์ได้บันทึกรายนามภิกษุณีที่ติดตามมาในคณะของพระนางสังฆมิตตาเถรีหลายองค์ ในการเสด็จมาลังกานี้พระนางได้ประกอบพิธีอุปสมบทกรรมแก่พระนางอนุฬาเทวี  พร้อมด้วยสตรีอื่นอีก  1,000  คน  จึงนับได้ว่า         พระนางสังฆมิตตาเถรีเป็นผู้นำในการสืบสายภิกษุณีสงฆ์ในต่างประเทศ  ที่มีหลักฐานปรากฏชัดเจน
          จากบันทึกทางประวัติศาสตร์ ได้ทราบว่าในปี พ.. 976  คณะภิกษุณีสงฆ์จากศรีลังกานำโดยภิกษุณีเทวสร ได้เดินทางไปประเทศจีนโดยทางเรือ เพื่อไปให้การอุปสมบทแก่สตรีชาวจีนจำนวนถึง      300 นาง ที่วัดป่าใต้ เมืองนานกิง ต่อมาภิกษุณีสงฆ์ในประเทศจีนได้เผยแผ่ไปยังประเทศใกล้เคียง ได้แก่ เกาหลี ญี่ปุ่น ไต้หวัน ฮ่องกง เวียดนาม และสิงคโปร์ ดังปรากฏในปัจจุบัน

พุทธศาสนาในศรีลังกาได้เจริญรุ่งเรืองจนกระทั่งปี พ. . 1560 ประเทศลังกาได้ถูกกษัตริย์ฮินดูจากอินเดียรุกรานและพุทธศาสนาได้ถูกย่ำยี ภิกษุ ภิกษุณี ต้องหนีไปหลบซ่อนในป่าและกษัตริย์ฮินดูได้ยึดครองศรีลังกาเป็นเวลากว่า 50 ปี ต่อมา เมื่อกษัตริย์ศรีลังกาสามารถขับไล่กษัตริย์ฮินดูออกไปได้สำเร็จจึงได้ฟื้นฟูพุทธศาสนาขึ้น ได้ส่งราชทูตมาขอสืบพระพุทธศาสนาจากประเทศเพื่อนบ้านได้แก่ ไทยและพม่า โดยสายที่ไปจากประเทศไทยได้กลายเป็นที่มาของภิกษุสงฆ์สายสยามนิกายมาจนถึงปัจจุบัน(ธัมนันทา สามเณรี , 2544 : 6 – 7)

3.2 การเผยแผ่พระพุทธศาสนามายังประเทศไทยและการบวชภิกษุณี

  การเผยแผ่พระพุทธศาสนา ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชมาสู่แผ่นดินสุวรรณภูมินั้น พระราชสุวรรณเมธ[2] ได้กล่าวไว้ว่า มีพระภิกษุสงฆ์ 5 รูป สามเณร อุบาสก อุบาสิกา พราหมณ์ คณะอำมาตย์ อตุลยา ท่านผู้หญิงอตุลยา กับประชาชนพุทธบริษัทรวม 38 คน และตามหลักฐานที่ปรากฏในคัมภีร์สมนตปาสาทิกาย[3]  กล่าวถึง  พระโสณะได้เทศน์ให้แก่  ชาวสุวรรณภูมิ  กุลบุตร  3,300  คน  ได้บวชเป็นภิกษุและกุลธิดา  1,500  คน  ได้บวชเป็นภิกษุณี  ซึ่งแสดงว่าภิกษุณีได้เกิดขึ้นแล้วในแผ่นดินสุวรรณภูมิ  (พระไตรปิฎกเล่ม 7 หน้า 58 – 59)   

           พระพุทธศาสนา เผยแผ่จากลังกาเข้าสู่แผ่นดินสุวรรณภูมิทางตอนใต้ของไทย  ตั้งแต่สมัยพระเจ้าจันทรภาณุ  เจ้าเมืองนครศรีธรรมราช  ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา  และมีการส่งคณะผู้แทนไปลังกาเพื่อนิมนต์พระภิกษุ  3  รูป  มาเผยแผ่พระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่  17  ก่อนที่    พระพุทธศาสนาจะขยายไปสู่อาณาจักรสุโขทัยในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช  ต่อมาลังกาได้เกิดวิกฤติเป็นเหตุให้พระพุทธศาสนาขาดเชื้อสายการสืบทอด  ลังกาได้ส่งราชทูตมาขอสืบพระพุทธศาสนาจากประเทศไทยในสมัยพระเจ้าบรมโกศ  พระองค์ทรงโปรดให้คณะสงฆ์ไทย  25  รูป  เดินทางไปลังกา         นำโดยพระ อุบาลีมหาเถระ  พระพุทธศาสนาที่ลังกาในครั้งนี้เรียกว่า สยามวงศ์  ซึ่งเป็น  นิกายเถรวาท  ทำให้ลังกาและไทยนับถือศาสนาพุทธ นิกายเถรวาท เช่นเดียวกัน

นับตั้งแต่สมัยสุโขทัย  อยุธยา  ธนบุรี  จนถึงยุครัตนโกสินทร์  ประเทศไทยต้องเผชิญศึกสงครามทั้งจากศึกภายนอกและศึกภายในที่คนไทยต้องรบราฆ่าฟันกันเอง  เพื่อแย่งชิงอำนาจและผลประโยชน์  บ้านเมืองจึงอยู่ในภาวะที่ไม่เอื้อต่อการที่ชาวพุทธในสมัยนั้นจะศึกษาเล่าเรียนธรรมะอย่างจริงจัง นอกจากนั้นในสมัยอยุธยา  รัชสมัยของพระบรมราชาที่  2  (..  1967 – 1991)  กษัตริย์ไทยได้ยึดอาณาจักรเขมรได้สำเร็จบรรดาโหราจารย์  และ พราหมณาจารย์จากราชสำนักเขมรถูกกวาดต้อนมายังกรุงศรีอยุธยา  ศาสนาพราหมณ์และคัมภีร์มนูธรรมศาสตร์จึงมีบทบาทอย่างสูงต่อราชสำนักไทย ส่งผลให้      สถานภาพของผู้หญิงต่ำต้อยกว่าชาย  และอยู่ในวรรณะที่ต่ำสุด  อิทธิพลของศาสนาพราหมณ์ส่งผลกระทบต่อสังคมและสตรีไทยโดยตรง  กล่าวคือ  บทบาทของสตรีถูกจำกัดเฉพาะในครัวเรือน  และต้องอยู่ภายใต้การปกครองและดูแลของบุรุษเพศเท่านั้น    บทบาทของสตรีในการนับถือพระพุทธศาสนาจึงถูกจำกัดให้อยู่ในฐานะของผู้ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาและมีความเชื่อว่าการสร้างวัดเป็นมหากุศลสูงยิ่ง   บรรดาสตรีในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นจึงนิยมสร้างและบูรณะวัดกันมาก

          ใน พ.. 2470 ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง มีนักต่อสู้ทางการเมือง  ชื่อนายนรินทร์ ภาษิต[4] ได้จัดให้มีการบวชบุตรสาว 2 คน คือ นางสาวสาระ และนางสาวจงดี พร้อมหญิงไทยอีก 6 คน  เป็นสามเณรี และให้พำนักอยู่ที่วัตรนารีวงศ์ ซึ่งเป็นวัตรที่นายนรินทร์สร้างถวาย หลังจากบวชได้ไม่นานก็ถูกทางการ     จับสึก    สาเหตุหลักมาจากตัวนายนรินทร์  ซึ่งวิพากษ์ความคิดทั้งทางการเมืองและพระศาสนา  แสดงตนเป็นปฏิปักษ์ทางความคิดต่อทางการอย่างชัดเจนและรุนแรง ด้วยเหตุนี้การเคลื่อนไหวในทุกเรื่องของนายนรินทร์ จึงถูกเพ่งเล็ง  แม้นายนรินทร์จะมีศรัทธาในพระพุทธศาสนาถึงกับสนับสนุนการบวชสามเณรีด้วยคิดว่าเป็นการทำนุบำรุงและสืบสานพระพุทธศาสนาให้มีพุทธบริษัท 4 ครบสมบูรณ์ การเคลื่อนไหวเรื่องการบวชสามเณรีในครั้งนี้ มีผลสืบเนื่องต่อมาโดย    ปี พ.. 2471 ได้มีประกาศของกรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชในสมัยนั้น ห้ามมิให้ภิกษุสามเณรให้การอุปสมบทสตรีเป็นสามเณรีสิกขมานาหรือภิกษุณี ซึ่งถือเป็นกฎเหล็กที่ปิดโอกาสของ   สตรีไทย ในการเข้าสู่ศาสนจักรในฐานะนักบวช หรือภิกษุณี พระบัญชาของสมเด็จพระสังฆราช ในปี 2471 นั้น ภิกษุสงฆ์ไทยถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด และมีผลสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน แม้เมื่อประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยมีกฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ พระบัญชาของพระสังฆราช  .. 2471 ก็ต้องยกเลิกไปโดยปริยาย แต่คณะสงฆ์ไทยยังคงยึดถือประกาศฉบับนี้มาโดยตลอด และยังมาอ้างถึงอีกในพระวรธรรมคติของพระสัฆราชที่ปรามเรื่องการบวชภิกษุณี พ.. 2544

            อย่างไรก็ตามสตรีไทย ที่มีความศรัทธาอย่างแรงกล้าต่อพระพุทธศาสนา และต้องการอุทิศตนเป็นนักบวชในพระพุทธศาสนาก็ยังไม่ลดละความพยายาม ดังปรากฏว่าอีก 30 ปีต่อมา นางวรมัย           กบิลสิงห์ ได้ศึกษาปฏิบัติธรรมจนเกิดความเลื่อมใสต้องการบวชเป็นภิกษุณีได้พยายามแสวงหาหนทางที่จะบวช เมื่อได้ทราบว่าไต้หวัน ยังมีคณะภิกษุณีสงฆ์อยู่ จึงได้เดินทางไปเพื่อรับการบวชจากสงฆ์สองฝ่าย   ต่อมา ปีพ.. 2514 ได้กลับมายังประเทศไทยและได้อุทิศที่ดินส่วนตัวสร้างวัตรทรงธรรมกัลยาณี ที่จังหวัดนครปฐม เพื่อเป็นที่พำนักและปฏิบัติธรรม หลังจากบวชได้ไม่นานนัก ได้มีเจ้าหน้าที่จากกรมการศาสนาเข้าไปตรวจสอบ เมื่อเสนอเรื่องไปสู่ที่ประชุมมหาเถรสมาคม ที่ประชุมมีมติว่าการบวชนั้น ไม่เป็นการเสื่อมเสียต่อคณะสงฆ์ ปัจจุบันภิกษุณีวรมัย  ยังคงครองเพศบรรพชิต และมีอายุกว่า 95 ปีแล้ว

             ในปี พ.. 2544 ดร.ฉัตรสุมาลย์  กบิลสิงห์ บุตรสาวคนเดียวของภิกษุณีวรมัย กบิลสิงห์ ซึ่งอดีตเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย และนักวิชาการด้านปรัชญาศาสนาที่มีชื่อเสียง ได้เดินทางไปยังประเทศศรีลังกาเพื่อรับการบรรพชาเป็นสามเณรี และกลับมาพำนัก ณ วัตรทรงธรรมกัลยาณี ที่ภิกษุณีมารดาได้สร้างไว้ ในปีต่อมา (.. 2545)  ได้มีการบรรพชาสามเณรีวรางคณา วนวิชเยนทร์   ในประเทศไทยเป็นครั้งแรก   ผู้ที่ให้การบรรพชาคือ คณะภิกษุณีสงฆ์จากประเทศศรีลังกามีปวัตตินี คือ พระภิกษุณีสัทธารมุนา โดยมีภิกษุณีสงฆ์ จากอินโดนีเซีย และไต้หวัน รวมทั้งภิกษุสงฆ์จากประเทศไทยเข้าร่วมเป็นประจักษ์พยาน  การบรรพชาครั้งนี้ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางจนนำมาสู่การศึกษาของคณะอนุกรรมาธิการด้านสตรี

3.3 การฟื้นฟูการบวชภิกษุณีในระดับสากล

             การสืบสายภิกษุณีสงฆ์จากลังกาไปยังประเทศอื่นนั้น มีหลักฐานปรากฏว่า เมื่อปี พ.. 976     คณะภิกษุณีสงฆ์จากลังกานำโดยภิกษุณีเทวสร[5] ได้เดินทางไปประเทศจีนทางเรือ  เพื่อทำพิธีอุปสมบทแก่ภิกษุณีจำนวน 300 รูป  ณ วัดป่าใต้ (หนานหลินซื่อ) เมืองนานกิง  ดังนั้นจึงเห็นได้อย่างชัดเจนว่า ภิกษุณีสงฆ์ในประเทศจีนนั้นได้รับการอุปสมบทโดยสายคณะภิกษุณีสงฆ์จากลังกา และการอุปสมบทนั้นถูกต้องตามแบบแผนของนิกายเถรวาททุกประการ พระวินัยที่ภิกษุณีรักษานั้น เป็นพระวินัยของนิกายธรรมคุปต์ ซึ่งเป็นนิกายย่อยของเถรวาทมีศีล 348 ข้อ ซึ่งมีการปฏิบัติตรงกันกับฝ่ายเถรวาทแทบทุกข้อ ต่อมาภิกษุณีสงฆ์ในประเทศจีนได้เผยแผ่ไปยังประเทศใกล้เคียง ได้แก่ เกาหลี ไต้หวัน ฮ่องกง  เวียดนาม  และสิงคโปร์  ดังปรากฏในปัจจุบัน (ฉัตรสุมาลย์  กบิลสิงห์)

             ความเคลื่อนไหวของการบวชภิกษุณีในสมัยปัจจุบัน  เกิดจากความร่วมมือของชาวพุทธทั่วโลก  โดยเมื่อต้นปี พ.. 2446  สตรีศรีลังกาชื่อนางสาวแคทเธอรีน เดอ อัลวิส คุณติลเก  ซึ่งเดิมนับถือคริสต

ศาสนาได้เกิดความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาและมีความประสงค์ที่จะบวช   จึงได้เดินทางไปยังประเทศพม่าและได้บวชเป็นทศศีลมาตา หรือ   แม่ชีผู้ถือศีล 10 ได้รับฉายาว่า สุธรรมจารี นับเป็นสตรีชาวศรีลังกาคนแรก ที่ริเริ่มการบวชเป็นทศศีลมาตาขึ้น ต่อมาสตรีชาวศรีลังกาได้เกิดศรัทธาบวชเป็นทศศีลมาตาเพิ่มมากขึ้นและนำไปสู่การบวชเป็นภิกษุณี โดยได้รับการยอมรับและสนับสนุนจากรัฐบาล (ธัมมนันทาสามเณรี 2544 : 8-9)

                ปัจจุบันมีการบวชภิกษุณีอย่างแพร่หลายในนานาประเทศ  องค์กรหลักซึ่งได้รับการยอมรับ ได้แก่

             1.วัดโฟกวางซาน[6] นำโดย พระอาจารย์ซิงหยุน มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองเกาซุง ทางตอนใต้ของเกาะไต้หวัน ซึ่งมีเครือข่ายชาวพุทธทั่วโลก วัดโฟกวางซานมีสมาชิกเป็นภิกษุณีกว่า 700 รูป และมีภิกษุเพียง 300  รูป  เท่านั้น (ธัมมนันทา สามเณรี 2544 : 28 – 29)

             2. สมาคมสตรีชาวพุทธนานาชาติ “ศากยธิดา”เกิดขึ้นจากการประชุมนานาชาติ ครั้งแรกเรื่อง “นักบวชสตรี” เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2530 ที่พุทธคยา ประเทศอินเดีย หลังการประชุมได้เกิดการจัดตั้งสมาคมสตรีชาวพุทธนานาชาติขึ้น สมาคมนี้จดทะเบียนในสหรัฐอเมริกา และต่อมาในปี   .. 2535  ดร. ฉัตรสุมาลย์  กบิลสิงห์ เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมที่ประเทศไทย มีภิกษุณีต่างชาติเข้าร่วมประชุม 240 คน  จาก 26 ประเทศ  ดร. ฉัตรสุมาลย์ ได้รับเลือกเป็นประธาน   “ศากยธิดา”     ติดต่อกันถึง  2  สมัย  (.. 2534 – 2538) (ธัมมนันทา สามเณรี 2544  : 29 – 31) ในเดือนตุลาคม พ.. 2536 รันชนี เดอ ซิลวา ชาวศรีลังกา ได้รับแรงบันดาลใจจากการเข้าร่วมประชุมศากยธิดาที่ประเทศไทย นางจึงได้จัดการประชุมขึ้นที่ศรีลังกา มีผู้เข้าร่วมงานถึง   300 คน

              การประชุมศากยธิดาจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องในประเทศต่าง ๆ เช่น ที่เมือง ลาดัค ประเทศอินเดีย  (.. 2538)  , ที่ประเทศกัมพูชา (.. 2540 )  ที่ประเทศเนปาล   (.. 2543 ) ไต้หวัน (พ.ศ.2545) และที่จะมีขึ้น พ.ศ.2547 ที่เกาหล

           3.  เครือข่ายพุทธศาสนิกสัมพันธ์เพื่อสังคมนานาชาติ   เป็นองค์กรเอกชนในประเทศไทย มีเครือข่ายงานติดต่อกับต่างประเทศในส่วนของงานด้านสตรี องค์กรนี้ได้จัดการสัมมนานานาชาติเพื่อให้การศึกษา และแลกเปลี่ยนประสบการณ์แก่ภิกษุณีและแม่ชีจากประเทศไทยและทศศีลมาตาจากศรีลังกา

การฟื้นฟูการบวชภิกษุณี ได้รับความร่วมมือจากชาวพุทธและองค์กรพุทธศาสนาในระดับสากล

มีบทบาทสำคัญในการฟื้นฟูและสืบทอดการบวชภิกษุณี ซึ่งพอจะสรุปความเคลื่อนไหวครั้งสำคัญ ได้ดังนี้ 

การบวชครั้งที่ 1 ในปี พ.. 2531 ได้มีทศศีลมาตาชาวศรีลังกากลุ่มหนึ่งเดินทางไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อบวชเป็นภิกษุณีสงฆ์จากคณะสงฆ์ชาวจีน ไต้หวัน ที่วัดซีไหล ลอสแอนเจอลิส การบวชในครั้งนี้มีผู้บวชเป็นภิกษุณีกว่า 100 รูป มีสตรีไทยเข้าร่วมอุปสมบทเป็นภิกษุณีด้วย 2 รูป คือ ภิกษุณี  พัชรี และภิกษุณีละออ การบวชครั้งนี้นำโดย หลวงพ่อซินหยุน แห่งวัดโฟกวางซาน

การบวชครั้งที่ 2 .. 2539 ทศศีลมาตาชาวศรีลังกา 10 รูป ได้รับการบวชเป็นภิกษุณี จากภิกษุสงฆ์ชาวเกาหลี[7]ที่เมืองสารนาถ ประเทศอินเดีย

การบวชครั้งที่ 3 ในปี พ.. 2541 เจ้าภาพทศศีลมาตาชาวศรีลังกา 20 รูป    ได้รับการบวชเป็นภิกษุณีสงฆ์จากคณะสงฆ์นานาชาติ  ณ ตำบลพุทธคยา ประเทศอินเดีย และในปีเดียวกันนี้ คณะสงฆ์สองฝ่ายของศรีลังกานิกายสยามวงศ์คือ ภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์ได้ริเริ่มการบวชให้แก่สตรีชาวศรีลังกา โดยจัดพิธีบวช 2 ครั้ง หรือที่เรียกว่า บวชโดยสงฆ์ 2 ฝ่าย ข้อมูลล่าสุดเดือนมกราคม 2546 พบว่าที่ประเทศศรีลังกามีภิกษุณีสงฆ์รวมแล้วกว่า 400 รูป

การบวชครั้งที่ 4 .. 2541 เป็นการบวชภิกษุณีเป็นครั้งแรกในศรีลังกา   โดยภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์ของศรีลังกา พระมหาเถระที่เป็นประธานจัดการบวช คือ  ท่านสุมังคละ มหาเถระ เป็น       อัสคีรีสยามนิกาย (ธัมมนันทา สามเณรี 2544 : 13 - 14)

การบวชครั้งที่ 5 .. 2543 ที่วัดโฟกวางซาน เมืองเกาซุง ประเทศไต้หวัน   ในการบวชครั้งนี้มีมหาเถระจากศรีลังกานำโดย ท่านสุมังคลมหาเถระ[8] เป็นอุปัชฌาย์ และมีพระมหาเถระที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก และยอมรับในระดับนานาชาติเข้าร่วมหลายองค์ (ธัมมนันทา สามเณรี)

กล่าวโดยสรุป แนวโน้มสถานการณ์ในอนาคตของการบวชภิกษุณีน่าจะเป็นหนทางที่สามารถเกิดขึ้นได้จริงในประเทศไทย  เพราะในต่างประเทศต่างก็ให้ความสำคัญและฟื้นฟูกันอย่างจริงจัง  และต่อเนื่องมาโดยตลอด

         [1] พระเจ้าอโศกมหาราชทรงเป็นศาสนูปถัมภกได้จัดส่งสมณทูตไปประกาศพระศาสนา 9 สาย ด้วยกัน ในสายที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย และการบวชภิกษุณีนั้นมี 2 สาย คือ สาย 8 นำโดยพระโสณเถระกับพระอุตตรเถระพร้อมด้วยคณะไปประกาศพระพุทธศาสนา ณ ดินแดนสุวรรณภูมิ ได้แก่ ดินแดนแถบประเทศพม่า ไทย มาเลเซีย อินโดเนียเซีย หลักฐานที่ปรากฏในปัจจุบันในประเทศไทย คือ องค์พระปฐมเจดีย์ที่จังหวัดนครปฐม และ สายที่ 9 นำโดย พระมหินทเถระโอรสของพระเจ้าอโศกมหาราช และต่อมาได้ขอทูลเชิญพระนางสังฆมิตตาเถรีพระธิดาของพระเจ้าอโศกเดินทางไปที่ลังกาเพื่ออุปสมบทพระนางอนุฬาเป็นภิกษุณี สมณทูตสายที่ 9 นี้นับว่ามีผลงานอันทรงคุณประโยชน์มหาศาลต่อพระพุทธศาสนาถึงปัจจุบัน

         [2] พระราชสุวรรณเมธี เจ้าอาวาสพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร “แผ่นดินทอง นครปฐมแดนเกิดพระพุทธศาสนา” หน้า 67

         [3] คัมภีร์สมนนตปาสานิกาย นามวินัยปิฎกฎฐกถาย หน้า 62 - 63

         [4] ศักดินา ฉัตรกุล ณ อยุธยา : นรินทร์กลึง หรือ นรินทร์ ภาษิต คนขวางโลก สำนักพิมพ์มติชน พ.ศ.2536 หน้า58 - 59

          [5] E. Comze ed. Buddist Texts Through The Ages, Happer Tourch Books. 1964  P.293

          [6] วัดโฟกวางซาน เป็นเจ้าภาพจัดากรอุปสมบทนานาชาติให้แก่ภิกษุณีครั้งแรกที่วัดซีไหล ในลอสแอนเจลีส พ.ศ. 2531 มีผู้ได้รับการอุปสมบทไป 200 กว่ารูป และได้มีการอุปสมบทนานาชาติที่พุทธคยา อินเดีย 149 รูป และล่าสุด พ.ศ. 2543 มีภิกษุณีบวชใหม่อีก 100 กว่ารูป วัดซีไหลเป็นวัดสาขาของโฟกวางซาน มีภิกษุณีซึ่งเป็นศิษย์ของหลวงพ่อซิง หยุ๋น ดูแลเป็นเจ้าอาวาสปัจจุบันวัดโฟกวางซานมีเครือข่ายงานชาวพุทธทั่วโลก แนวคำสอนเน้นในพุทธศาสนาแนวมนุษย์นิยม (Humanistic Buddism)

          [7] การบวชภิกษุณีในประเทศเกาหลีเป็นการบวชโดยสงฆ์ 2 ฝ่าย ประกอบด้วยภิกษุสงฆ์ 10 รูป ภิกษุณีสงฆ์ 10 รูป และสงฆ์ทั้ง 2 ฝ่าย ต้องผ่านการบวชมาแล้ว 10 พรรษาเท่ากัน โดยสงฆ์ 2 ฝ่าย ประเทศเกาหลีเป็นประเทศเดียวที่สายการบวชภิกษุณีไม่เคยขาดสายการบวช รายละเอียดใน Korean Buddism Published by Korean Buddist Chogye order. May 1996 P.33

          [8]ท่านสุมังคคมหาเถระ รายละเอียดในธัมมนันทา สามเณรี : การสืบสายภิกษุณีสงฆ์ในศรีลังกา พ.ศ.2544 หน้า 15

         บทที่ 1 เหตุผลและความจำเป็นของการศึกษา 
          
บทที่
2 กำเนิดและวิธีการบวชภิกษุณี 
          
บทที่ 3 การเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปยังดินแดนอื่นและมายังประเทศไทย  
          
บทที่ 4 ปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับการบวชภิกษุณีในประเทศไทย  
          
บทที่ 5 บทสรุปและข้อเสนอแนะ  
กลับหน้า   ข่าวล่า

 วัตรทรงธรรมกัลยาณี เลขที่ 195 ถนนเพชรเกษม ต. พระประโทน อ. เมืองฯ จ. นครปฐม 73000
โทร. (034) 258-270 โทรสาร (034) 284-315   E- mail : [email protected]
Copyright (c) 2002-2003 Thaibhikkhunis.org  All rights reserved.