ตอบ
เรียนคุณหนึ่ง
เรี่องการที่จะได้มาซึ่งบุญที่สมบูรณ์มากน้อย นั้นเรามีหลักในการตรวจสอบดังนี้
1. ทายกผู้ให้ เป็นผู้ที่ประพฤติดี อยู่ในศีลในธรรม อานิสงยิ่งสูง
2. วัตถุที่ให้ เป็นสิ่งที่บริสุทธิ เป็นสิ่งที่ได้มาด้วยดี และมีประโยชน์ต่อผู้รับ และ
3. ผู้รับ เป็นผู้ที่ทรงศีล ประพฤติชอบ ตามลำดับแห่งฐานะ
"ในทักขิณาวิภังคสูตร (14/711) พระผู้มีพระภาคตรัสถึงผลการให้ทานว่า
1.ให้ทานแก่สัตว์เดรัจฉานได้ผล 100 เท่า
2.ให้ทานแก่ปุถุชนผู้ทุศิลได้ผล 1000 เท่า
3.ให้ทานแก่ปุถุชนผู้มีศิลได้ผล แสน เท่า
4.ให้ทานแก่บุคคลภายนอกผู้ปราศจากความกำหนัดในกามได้ผล แสนโกฏิเท่า
5.ให้ทานแก่ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง ได้ผลนับประมาณไม่ได้
6.ถ้าให้ทานในพระโสดาบัน พระสกาทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์ พระปัจเจกพุทธะ และพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผลยิ่งไม่อาจนับประมาณได้เลย
ดั่งนั้นจะเห็นว่า การให้ทานย่อมเกิดอานิสงทั้งสิ้น ต่างกันที่จะได้มากได้น้อยขึ้นอยู่กับลำดับความสำคัญของผู้รับ
นอกจากนี้บุญที่จะสำเร็จมากน้อยแก่ตนยังขึ้นอยู่กับเจตนาของผู้ให้ กล่าวคือ เจตนาก่อนให้ มีความตั้งใจมาก ยินดีมากที่จะให้ เจตนาขณะที่ให้ มีความสุข และยินดีมากในขณะที่มอบ หรือถวายสิ่งของ และ เจตนาหลังจากที่ให้ไปแล้ว รู้สึกยินดีในการให้ครั้งนั้น รู้สึกเกิดปิติทุกครั้งที่ระลึกถึงการให้ครั้งนั้น และยิ่งระลึกครั้งใดก็จะยิ่งเกิดบุญทุกครั้ง
ดังนั้นในเรื่องของผู้รับที่เป็นพระสงฆ์ซึ่งถือเป็นเนื้อนาบุญอันประเสริฐยิ่ง ขอทายกได้โปรดอย่ากังขากับท่านอันจะทำให้การทำบุญของเรามีเจตนาที่ไม่บริสุทธิ์ จิตใจเศร้าหมองในขณะทำบุญไปปล่าวๆ เกิดบาปทางใจโดยไม่จำเป็น ดังพระพุทธองค์ได้ทรงกล่าวไว้ว่าหากทำบุญในสาวกของพระองค์แม้เพียงอยู่ในผ้าเหลือง แต่หากทำด้วยความบริสุทธ์ โดยได้น้อมนำใจไปเพื่อสงฆ์ทั้งหลายอันเป็นสังฆทาน ก็ย่อมได้บุญมาก
ส่วนเรื่องการประพฤติมิชอบต่างๆ พุทธะจะแยกแยะได้ด้วยปัญญาว่าแท้จริงแล้ว ผู้นั้นสมควรจะใช้คำสรรพนามว่า"พระสงฆ์" หรือไม่ หากทราบว่าผู้นั้นประพฤติมิชอบจริง ขอได้โปรดใช้ปัญญาพิจจารณาเป็นกรณ๊ไป หากเหมารวมแล้วอาจทำให้ประโยชน์อันพึงมีของเราเสียโอกาสไป แม้ได้บุญก็จริงแตกอาจไม่สัมฤทธิตามประสงค์
และในชัปปสูตร (20/497) พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกับปริพาชก วัจฉโคตรว่า
วัจฉะ ชนเหล่าใดที่กล่าวว่า พระสมณโคดมตรัสว่า ทานควรให้แก่เราและสาวกของเราเท่านั้น ไม่ควรให้แก่คนอื่นและสาวก ทานที่ให้แก่เราเท่านั้นมีผลมาก ทานที่ให้แก่คนอื่นและสาวกไม่มีผลมาก ดังนั้น ชนเหล่านั้นใส่ความเราด้วยเรื่องไม่จริง
ผู้ใดห้ามคนอื่นให้ทาน ผู้นั้นชื่อว่าทำอันตรายต่อคน 3 คน คือ ทำอันตรายบุญของผู้ให้ ทำอันตรายลาภของผู้รับ อนึ่ง ตัวของผู้นั้นขึ้นชื่อว่าถูกขุด(จากความดี) ถูกฆ่า(จากความดี)
วัจฉะ เรากล่าวอย่างนี้ต่างหากว่า ผู้ใดเทน้ำล้างหม้อหรือน้ำล้างชามลงในหลุมหรือท่อโสโครก ด้วยเจตนาให้สัตว์ที่อยู่ในนั้นได้เลี้ยงชีพ อย่างนี้เรายังกล่าวการได้บุญอันมีกริยานั้นเป็นมูล จะกล่าวอะไรถึงการให้แก่มนุษย์ด้วยกันเล่า
แต่นั่นแหละ วัจฉะ เรากล่าวทานที่ให้ในท่านผู้มีศิลมีผลมาก หาได้กล่าวอย่างนั้นในผู้ทุศิลไม่"
ทีนี้มาคุยถึงเรื่องผลของการให้ทานกันตามพระสูตรที่ได้อัญเขิญมาข้างต้น หากพูดกันตามภาษาเราแล้วจะเห็นว่า ลำดับที่ต่างกันนั้นขึ้นอยู่กับคุณประโยชน์ของสัตว์แต่ละสรรพสิ่งตามแต่ฐานะประโยชน์บนโลก หากเราเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงความสำคัญของเป้าหมายสูงสุดในการเกิด และการหลุดพ้นแล้ว จะเห็นว่าผู้ที่มีหน้าที่สืบทอดพระพุทธศาสนาให้ดำรงคงอยู่ในโลก ถือเป็นผู้ที่มีความสำคัญในลำดับต้นๆ เมื่อเทียบกับบุคคลธรรมดา หรือผู้ทุศีลก็ตาม แม้เราให้ทานแก่ผู้ทุศีลเหล่านั้นก็จะได้ประโยชน์เช่นกัน แต่จะได้เพียงผู้นั้นเท่านั้น ต่างกับผู้ทรงศีลที่ท่านถือเป็นเนื้อนาบุญของโลก ในพุทธกาลนี้จะมีอายุเพียง 5000 ปีเท่านั้น จากนี้ไปโลกจะเข้าสู่ยุคที่ไร้คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าซึ่งถือเป็นยุคมืด คนจะไม่เข้าใจถึงการทำบุญ ไม่คิดถึงประโยชน์ของการบำเพ็ญบุญสู่การทำให้ตนเองหลุดพ้น ไม่รู้จักคำว่านิพพาน สัตว์บนโลกจะเกิดและดับไปตามยะถากรรม ไม่มีผู้ชี้แนะทางสว่าง โลกจะเป็นยุคมืดเช่นนี้อยู่หลายแสนล้านปี คนเราก็จะเกิดมาตายโดยไร้เป้าหมายตลอดในยุคนั้น นี่แหละเป็นเหตุผลที่ทำไมผู้ที่มีปัญญาและทราบถึงความเป็นไปของธรรมชาติข้อนี้ท่านถึงได้ต้องการสืบทอดพระพุทธศาสนาให้ดำรงอยู่ให้นานที่สุดโดยมีพระสงฆ์สาวก อันมีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน
ขอให้โชคดี และมีความสุข โดยคุณ : อิทธิพงศ์ -
[ 15 เม.ย. 2003 , 13:11:37 น.]
|