Thaimisc.com - Please Ctrl+DBookmark Now!

WEB BOARD


ดูก่อนภิกษุณี
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรอานนท์ ถ้าพระนางมหาปชาบดีโคตมี ยอมรับครุธรรม 8 ประการ ข้อนั้นแหละ จงเป็นอุปสัมปทาของพระนางคือ :
1.ภิกษุณีอุปสมบทแล้ว 100 ปี ต้องกราบไหว้ ลุกรับ ทำอัญชลีกรรม สามีจิกรรม (ทำความเคารพ) แก่ภิกษุที่อุปสมบทในวันนั้น ธรรมแม้นี้ ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพนับถือ บูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต
2.ภิกษุณีไม่พึงอยู่จำพรรษาในอาวาสที่ไม่มีภิกษุ ธรรมแม้นี้ ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต
3.ภิกษุณีต้องหวังธรรม 2 ประการ คือ ถามวันอุโบสถ 1 เข้าไปฟังคำสั่งสอน 1 จากภิกษุสงฆ์ทุกกึ่งเดือน ธรรมแม้นี้ ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต
4.ภิกษุณีอยู่จำพรรษาแล้ว ต้องปวารณา (ยอมให้ว่ากล่าวตักเตือน) ในสงฆ์สองฝ่าย โดยสถานทั้ง 3 คือ โดยได้เห็น โดยได้ยิน หรือโดยรังเกียจ ธรรมแม้นี้ ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต
5.ภิกษุณีต้องธรรมที่หนักแล้ว (ผิดพระวินัยต้องอาบัติสังฆาทิเสส) แล้ว ต้องประพฤติปักขมานัต (อยู่กรรม) ในสงฆ์ 2 ฝ่ายธรรมแม้นี้ ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต
6.ภิกษุณีต้องแสวงหาอุปสัมปทา (อุปสมบท) ในสงฆ์ 2 ฝ่าย เพื่อสิกขมานาผู้มีสิกขาอันศึกษาแล้วในธรรม 6 ประการ ครบ 2 ปีแล้ว ธรรมแม้นี้ ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต
7.ภิกษุณีไม่พึงด่า บริภาษภิกษุ โดยปริยายอย่างใดอย่างหนึ่ง ธรรมแม้นี้ ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต
8.ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ปิดทางไม่ให้ภิกษุณีทั้งหลายสอนภิกษุ เปิดทางให้ภิกษุทั้งหลายสอนภิกษุณี ธรรมแม้นี้ ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต
ดูกรอานนท์ ก็ถ้าพระนางมหาปชาบดีโคตมี ยอมรับครุธรรม 8 ประการนี้ ข้อนั้นแหละจงเป็นอุปสัมปทาของพระนาง ฯ
ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เรียนครุธรรม 8 ประการ ในสำนักพระผู้มีพระภาค แล้วเข้าไปหาพระนางมหาปชาบดีโคตมีชี้แจงว่า พระนางโคตมี ถ้าพระนางยอมรับครุธรรม 8 ประการ ข้อนั้นแหละจักเป็นอุปสัมปทาของพระนางพระนางโคตมี ถ้าพระนางยอมรับครุธรรม 8 ประการนี้ ข้อนั้นแหละจักเป็นอุปสัมปทาของพระนาง พระนางมหาปชาบดีโคตมีกล่าวว่า "ข้าแต่ท่านพระอานนท์ ดิฉันยอมรับครุธรรม 8 ประการนี้ ไม่ละเมิดตลอดชีวิต เปรียบเหมือนหญิงสาว หรือชายหนุ่มที่ชอบแต่งกาย อาบน้ำสระเกล้าแล้ว ได้พวงอุบล พวงมะลิ หรือพวงลำดวนแล้ว พึงประคองรับด้วยมือทั้งสอง ตั้งไว้เหนือเศียรเกล้าฉะนั้น ฯ”
ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเผ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคมนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า พระนางมหาปชาบดีโคตมี ยอมรับครุธรรม 8 ประการแล้ว พระมาตุจฉาของพระผู้มีพระภาค อุปสมบทแล้ว
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ ก็ถ้าสตรีจักไม่ได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว พรหมจรรย์จักตั้งอยู่ได้นานสัทธรรมจะพึงตั้งอยู่ตลอดพันปี ก็เพราะสตรีออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว บัดนี้ พรหมจรรย์จักไม่ตั้งอยู่ได้นาน สัทธรรมจักตั้งอยู่ได้เพียง 500 ปีเท่านั้น ดูกรอานนท์ สตรีได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัยใด ธรรมวินัยนั้นเป็นพรหมจรรย์ไม่ตั้งอยู่ได้นาน
เปรียบเหมือนตระกูลเหล่าใดเหล่าหนึ่งที่มีหญิงมาก มีชายน้อย ตระกูลเหล่านั้นถูกพวกโจรผู้ลักทรัพย์กำจัดได้ง่ายอีกประการหนึ่ง เปรียบเหมือนหนอนขยอกที่ลงในนาข้าวสาลีที่สมบูรณ์ นาข้าวสาลีนั้นไม่ตั้งอยู่ได้นาน อีกประการหนึ่ง
เปรียบเหมือนเพลี้ยที่ลงในไร่อ้อยที่สมบูรณ์ ไร่อ้อยนั้นไม่ตั้งอยู่ได้นานน ดูกรอานนท์บุรุษกั้น ทำนบแห่งสระใหญ่ไว้ก่อน เพื่อไม่ให้น้ำไหลไป แม้ฉันใด เราบัญญัติครุธรรม 8 ประการแก่ภิกษุณี เพื่อไม่ให้ภิกษุณีละเมิดตลอดชีวิตฉันนั้นเหมือนกัน
โดยคุณ : ผู้เฝ้ามอง - [ 7 เม.ย. 2003 , 02:45:17 น. ]

ตอบ
ถ้าจะทำให้ข้อความน่าเชื่อถือ น่าสะใส่ที่มาก็น่าจะสนใจมาก
ผมแปลกใจที่ว่าทำไม่ผู้หญิงที่ตั้งใจจะบวชเป็นภิกษุณีต้องโดนขัดขวางมากมายขนาดนี้ ต้องยกคำอ้างต่างๆขึ้นมา แต่กลับลืมมองไปว่ายังมีพระภิกษุสงฆ์บางรูปที่ประพฤติตนไม่เหมาะสม เช่น ไปเดินพันทิพย์ดูเครื่อง ฯลฯ ทำไม่เราไม่หามาตรการมาจัดการในหมู่คณะสงฆ์ ซึ่งพวกเราเองเป็นผู้ที่จะต้องทำหน้าที่สืบทอดศาสนา แต่ทำไม่เราต้องมาคอยกีดกั้นบุคคลที่จะบวชเป็นภิกษุณี ทั้งๆที่พวกเขาที่จะเหมาะสมที่จะอบรมเพศสตรีมากกว่าบุรุษเพศ ตอนนี้ศาสนาเรากำลังแย่ ผู้คนกำลังเสื่อมศรัทธาเพราะว่าพระภิกษุสงฆ์บางรูปทำเสื่อมเสีย เพราะการบวชของภิกษุสงฆ์ไม่มีกฎระเบียบเหมือนการบวชภิกษุณีที่มีกฎระเบียบเคร่งครัด
โดยคุณ : เต่าน้อย - ICQ : [email protected] - [ 10 เม.ย. 2003 , 17:14:14 น.]

ตอบ
มีข้อมูลเรื่องการศึกษาเรื่องการบวชภิกษุณี ซึ่งทางคณะอนุกรรมการสตรี ของท่าน สว. ระเบียบได้ทำไว้ ....กำลังจะเอาขึ้นเว็บเร็วๆ นี้ มีข้อมูลที่ศึกษามาอย่างละเอียด ...อยากให้ทุกๆ ท่านเข้าช่วยกันอ่าน เพื่อจะได้ชัดเจนในประเด็นเรื่องการบวชภิกษุณีตั้งแต่สมัยพุทธกาลมากขึ้น ...รวมทั้งการสืบสายภิกษุณีด้วยค่ะ...
โดยคุณ : พี่พิม - [ 10 เม.ย. 2003 , 21:21:54 น.]

ตอบ
ความจริงแล้วเป็นเรื่องที่น่าอนุโมทนาเป็นอย่างยิ่งกับผู้ที่มีความตั้งใจศึกษาและปฏิบัติธรรม มีความตั้งใจที่จะเข้ามาสู่ภายใต้ร่มกาสาวพัตร โดยมีพระธรรมเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวสูงสุด แต่ไคร่ขอหยิบยกเพื่อให้ระลึกถึงตอนที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านได้ทรงปฏิเสธต่อพระนางมหาประชาบดีถึง 3 ครั้ง ที่จะย่อมให้มีการอุปสมบทสตรี

แม้ครั้งที่ 1 แม้ครั้งที่ 2 แม้ครั้งที่ 3 ก็ยังไม่เป็นผลแต่ประการใด จะกล่าวให้ถูกต้องแล้ว พระพุทธองค์ได้ทรงปฏิเสธไว้ถึง 6 ครั้ง กล่าวคือหลังจากพระนางมหาประชาบดีได้รับการปฏิเสธแล้ว พระนางมีความเสียพระทัยอย่างมาก และได้ไปขอร้องให้พระอานนท์ทรงได้นำเรียนขออนุญาตพระพุทธเจ้าอีก พระพุทธองค์ก็ยังทรงปฏิเสธพระอานนท์อีก แม้ครั้งที่ 1 ,2 แม้ครั้ง ที่ 3 แต่เป็นความจริงอยู่เองที่การบรรลุธรรมมิได้จำกัดอยู่ที่ความเป็นหญิงหรือชาย แม้วรรณใดก็ตาม หากผู้ใดได้เพียรปฏิบัติธรรมแล้ว ผู้นั้นย่อมบรรลุถึงความรู้แจ้งได้ ขณะนั้นพระนางมหาประชาบดีมีความเสียพระทัย พระพักตร์นองด้วยน้ำพระเนตร อันเนื่องมาจากพระพุทธองค์ไม่ทรงอนุญาตให้สตรีออกจากเรือนบวช และพระนางก็ได้ปลงพระเกสา พระวรกายก็เกลื่อกกลั้วด้วยธุลี พระบาททั้งสองพอง มีความทุกข์ และเสียพระทัยหนัก พระพักตร์นองด้วยน้ำพระเนตร ยังผลให้พระอานนต์ต้องเข้าไปขออนุญาตต่อพระพุทธเจ้าอีกถึง 3 ครั้ง พระพุทธองค์ก็ยังมิทรงอนุญาต แต่ด้วยเห็นแก่ที่พระนางมหาประชาบดี ทรงเป็นผู้มีอุปการะมากต่อพระพุทธองค์ คือเป็นพระมารดาเลี้ยง เมื่อพระอานนท์ขออีกครั้งจึงยอมอนุญาต โดยมีข้อแม้ว่าจะต้องยอมรับครุธรรม 8 ประการตลอดชีวิต พระอานนท์ได้กลับไปแจ้งต่อพระนางมหาประชาบดี และพระนางก็ได้ยอมรับทันที
เมื่อนั้น พระพุทธองค์จึงได้ทรงตรัสกับพระอานนท์ ดังนี้
"ดูกรอานนท์ ก็ถ้าสตรีจักไม่ได้ออกเรือนบวชเป็นบรรพชิตในพระธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว พรหมจรรย์จักตั้งอยู่ได้นาน สัทธรรมจะพึงตั้งอยู่ตลอดพันปี ก็เพราะสตรีออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว บัดนี้พรหมจรรย์จัดไม่ตั้งอยู่ได้นาน สัทธรรมจักตั้งอยู่ได้เพียง 500 ปีเท่านั้น ดูกรอานนท์ สตรีได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัยใด ธรรมวินัยนั้นเป็นพรหมจรรย์ไม่ตั้งอยู่ได้นาน เปรียบเหมือนตระกูลที่มีหญิงมากมีชายน้อย ตระกูลนั้นถูกพวกโจรลักทรัพย์กำจัดได้ง่ายประการหนึ่ง
เปรียบเหมือนหนอนขยอกที่ลงในนาข้าวสาลีที่สมบูรณ์ นาข้าวสารีนั้นไม่ตั้งอยู่นานอีกประการหนึ่ง
เปรียบเหมือนเพลี้ยที่ลงในไร่อ้อยที่สมบูรณ์ ไร่อ้อยนั้นไม่ตั้งอยู่ได้นาน ดูกรอานนท์ บุรุษกั้นทำนบแห่งสระใหญ่ไว้ก่อน เพื่อไม่ให้น้ำไหลไป แม้ฉันใด เราบัญญัติครุธรรม 8 ประการแก่ภิกษุณีเพื่อไม่ให้ภิกษุณีละเมิดตลอดชีวิตฉันนั้นเหมือนกัน"

พระพุทธองค์ท่านทรงเห็นว่า มิมีข้อห้ามแต่ประการใดในการบรรลุธรรมอันพึงมีของผู้ปฏิบัติ แม้วรรณใด แม้เพศใด หรือแม้เพศฆารวาสก็ตาม ไม่มีข้อจำกัดใดทางการปฏิบัติจิตที่จะมีต่อการเข้าถึงพระธรรม แต่มีความจริงอยู่ข้อหนึ่งที่มิอาจปฏิเสธได้คือ ด้านสรีระ และสรีระของสตรีนี้เป็นอันตรายต่อเพศบรรพชิต ด้วยเหตุนี้กระมังที่พระพุทธองค์ต้องปฏิเสธถึง 6 ครั้ง แม้ยอมแล้วก็ตาม แต่พระองค์ก็ยังคงต้องตั้งใจไว้ที่อุเบกขาเช่นกันแม้ว่าสัทธรรมของพระองค์จะมีอายุลดลงเหลือเพียงกึ่งหนึ่งก็ตาม
***ขอได้โปรดไต่ตรอง

พระภิกษุสงฆ์เปรียบเสมือนแสงเทียนสีเหลืองที่องค์พระศาสดาได้ทรงจุดไว้ และได้จุดต่อเนื่องกันมาไม่รู้ดับแม้เพียงสักครั้งเดียว ส่วนภิกษุณีก็เป็นแสงเทียนที่พระพุทธเจ้าทรงจุด และได้เคยสว่างเช่นกันไม่ว่าจะเปรียบได้กับสีอะไรก็ตาม แต่ต้องแยกกันอยู่ อันเนื่องมาจากความเป็นหญิงชาย และแสงแห่งภิกษุณีได้เกิดเหตุดับลงขาดผู้สืบทอด

มิไช่เพราะตามที่ถูกกล่าวหาด้วยเหตุผลใดๆก็ตามอันเนื่องจากความไม่รู้ ว่าทำไมปัจจุบันถึงไม่ยอมบวชภิกษุณีในนิกายเถรวาทซึ่งถือเป็นนิกายที่รักษาพระธรรมวินัยที่สุดเหนือสิ่งอื่นใด แต่เป็นเพราะใครล่ะจะเป็นผู้ที่จะอาจเอื้อมและตัดสิน โดยสถาปนาตนเองเป็นพระศาสดาเสียเองอีกครั้งหนึ่งในการจะจุดเทียนเล่มนี้ขึ้นมาใหม่แทนพระพุทธองค์ ไม่ว่าจะด้วยอำนาจใดๆทางโลกก็ตาม หรือการเรียกร้องสิทธิขนาดใหนก็ตาม หรือแม้หลงคิดว่าตนนี่แหละจะเป็นผู้จุดประกายนี้ขึ้นมาเอง แต่แสงที่จะถูกจุดขึ้นมาใหม่นี้ แม้จะทำแต่งทำให้สีเหมื่อนดวงประทีปที่พระองค์จุดไว้เมื่อกว่า 2500 ปีที่แล้วเพียงไดก็ตาม ก็หาใช่เป็นดวงเดียวกันไม่

ดังนั้นจะเห็นว่ามิไช่เป็นเรื่องของการไม่ยอมรับ หรือไม่ไช่เป็นเรื่องของการกีดกันกันแต่ประการใด อะไรจะเกิดก็สามารถเกิดขึ้นได้ไม่ว่าจะพิศดารหรือเลิศหรูเพียงใดในโลกใบนี้ แต่พุทธบริษัทจะสามารถมองและแยกแยะด้วยสายตาแห่งอุเบกขาได้ว่า สิ่งที่เกิดขึ้นมา ก็เป็นปรากฏการณ์หนึ่งในโลกใบนี้เท่านั้น แต่จะไช่ของจริงหรือไม่นั้นย่อมอยู่ในใจของพุทธะทุกคน

อนึ่ง การที่ภิกษุณีได้ขาดหายไปนั้น ก็เป็นเรื่องที่น่าเสียใจสำหรับชาวพุทธทุกคนอยู่ แต่ด้วยความเป็นพุทธะและรู้ถึงความเป็นไปแห่งโลกธรรม เรารู้ดีว่า แม้พระภิกษุเองก็ตามที่ อีกเพียงไม่ถึง 2500 ปีข้างหน้า ก็จะสาปสูญหายไปจากโลกใบนี้ด้วยเช่นกัน

ไม่ว่าใครจะอยู่ในสถานะใดก็ตาม ขออนุโมธนากับการประพฤติธรรม เพื่อจะได้สละกิเลสคือความเห็นแก่ตัวออกไป ดับความเป็นตัวตนให้ได้ มีแต่ตัวกาย จิตทำหน้าที่ไป หากกุศลถึงพร้อมแล้ว แม้เพศฆารวาสก็ย่อมบรรลุธรรมได้

ขอให้โชคดี
โดยคุณ : อิทธพงศ์ - [ 11 เม.ย. 2003 , 17:48:20 น.]

ตอบ
ที่เขียนมาข้างต้นนั้นก็มิได้มีจุดประสงค์ในทางร้ายแต่ประการใด มิต้องการจะเอาชนะใดๆทั้งสิ้น เข้าใจว่าอาจทำให้เกิดความขุ่นใจบ้างก็ต้องขออภัยเป็นอย่างยิ่ง สำหรับตัวแล้วรู้สึกเสียใจเช่นกันที่ต้องทำให้ผู้ที่มีความตั้งใจดีอาจขุ่นใจบ้าง แต่ขอได้โปรดพิจจารณาตาม ตั้งใจศึกษาและปฏิบัติพระธรรมไป จะทำให้แตกฉานลึกซึ้งตามแต่บารมีตนที่ถึงพร้อม พุทธรรมมิได้มีอยู่เพียงแค่จะเป็นหรือไม่เป็น ยังมีอะไรที่ลึกซึ้งน่าแสวงหาอีกมากนัก ที่สุดจะพบว่าทุกสิ่งไม่มีสาระที่แท้จริง

ขออนุโมทนาอีกครั้งกับความตั้งใจ นำตนเข้าสู่พระธรรมด้วยความจริงใจ แต่ก็อย่าให้เป็นการยึดติดเลย
โดยคุณ : อิทธิพงศ์ - [ 11 เม.ย. 2003 , 18:32:01 น.]

ตอบ
เห็นด้วยกับคุณเต่าน้อย นักต่อต้าน(ส่วนมาก) มักอ้างเอาการตรัสปฏิเสธของพระพุทธองค์ 5-6 ครั้งแรกมาเป็นเหตุในการขัดขวางการบวชภิกษุ แต่มิได้นึกถึงเหตุผลว่า "เหตุใดพระองค์จึงตรัสปฏิเสธ" เช่นนั้น และเหตุผล(อีกเหมือนกัน) ว่า "เหตุใดจึงทรงอนุญาติ" ในที่สุด
สมมตินะคะ ว่า นักต่อต้านทั้งหลาย มีลูกชาย กับ ลูกสาว หรือ น้องชาย กับ น้องสาว ก็ได้ ที่อยู่ในการปกครองของตัวเอง เด็กทั้งสองคนมาขออนุญาติคุณ "ไปเที่ยวป่าใหญ่ ที่มีการไต่หน้าผาสูงชันที่อันตราย และตลอดทางยังมีสัตว์ป่าน่ากลัว มีโจรผู้ร้ายชุกชุมตลอดเส้นทางกว่าจะถึงยอดเขา" นักต่อต้านจะอนุญาติก็ดี จะปฎิเสธก็ดี ต้องมีเหตุผลประกอบใช่มั้ยคะ ควรจะเป็นเหตุผลที่เหมือนกัน หรือ เหมือนกันใช่มั้ยคะ ระหว่าง ลูกชาย กับ ลูกสาว หรือ น้องชาย กับ น้องสาวของคุณ?
ฉันใด ก็ฉันนั้น ถ้าผู้ที่ต้องการจะปฎิบัติยืนยันเป็นมั่นเหมาะว่า "ปกป้อง ดูแลตัวเองได้ ทำตามกฏเกณฑ์ได้อย่างเคร่งครัด" ถ้าผู้อนุญาติเป็นคนที่มี "มีเหตุผล มีความยุติธรรม ใจคอไม่คับแคบ แบ่งเพศชายหญิง" เรื่องจะสรุปอย่างไรคะ?
สิ่งสำคัญอยู่ที่ คนฟัง คนอ่าน คนตีความเรื่องราวภายหลังต่างหากว่า จะ "หาเหตุผล " ตรงไหนมาสนับสนุน "ความคิดเห็นส่วนตัวของตัวเอง"
ล้าสมัยแล้วล่ะค่ะ เรื่องที่อ้างการปฎิเสธครั้งแรก ๆ ของพุทธองค์ ยุคศิวิไลซ์ ยุคโลกาภิวัต ต้องใช้ "เหตุผล ที่พิสูจน์ได้" มาคุยกัน
ขอบคุณค่ะ
โดยคุณ : คุณนายฝรั่งเศส - [ 16 เม.ย. 2003 , 10:30:57 น.]

ตอบ
มิขอได้โปรดพิจจารณาเนื้อความที่ได้ให้สติไว้โดยละเอียด มิไช่เพียงเท่านั้นดอก โดยเฉพาะครุธรรม 8 ประการ ที่คุณผู้เฝ้ามอง ได้อัญเชิญมา โปรดอย่าคิดว่าเป็นการต่อต้านอันใดเลย ที่สุดแล้วโลกย่อมต้องเป็นไปต่างๆนาๆ ไม่ว่าจะยุคใดสมัยใด อะไรจะเกิดขึ้นในโลกนี้พระพุทธองค์ผู้รู้แจ้งโลกย่อมทราบดีและได้ทรงทั้งตั้งจิตของพระองค์ไว้ที่อุเบกขาแล้วว่า แม้สัทธรรมของพระองค์จะต้องลดลงกึ่งหนึ่งก็ตาม กระนั้นพระพุทธองค์ก็ได้ทรงกำหนดเกณฑ์ไว้ให้ยึดถือประพฤติตลอดชีวิต.....ขอแสดงความเป็นหวงอีกครั้งตามที่ได้ยินมาข้างต้นที่อ้างว่าสมัยนี้สมัยนั้นให้ทำเช่นนั้นเช่นนี้ได้ (มิใช่เพียงในกระทู้นี้เท่านั้น) คงไม่ถูกต้องนักในกาละนี้ หากพระพุทธองค์ได้ทรงระบุไว้ชัดแจ้งแล้ว * ด้วยจิตที่หวังดี ขอได้โปรดพิจจารณา

อย่างไรก็ตาม โลกใบนี้สามารถมีอะไรเกิดขึ้นได้ต่างๆนาๆทั้งนั้น ไม่ว่าจะลัทธิไหน ความเชื่อไหน หมื่นล้านลัทธิ อะไรจะเกิดย่อมเกิดได้ไปตามบทบาทแห่งกิเลสที่พาไป มิอยากให้ไปติดอยู่ที่จุดนั้นต่างหาก และโปรดอย่าถือความกับผู้ที่ท่านเรียกว่า"พวกต่อต้าน"เลย โดยส่วนตนแล้วเพียงอยากจะให้ระลึกได้ด้วยตัวของตนเองมากกว่า นี่ก็อีกไม่เกิน 2500 ปี เท่านั้นสั้นนัก แม้พระภิกษุสงฆ์เองก็จะสาบสูญไปจากโลกนี้เช่นกัน ขอให้ตั้งจิตไว้ที่อุเบกขา และขอให้ตั้งหน้าตั้งตาประพฤติธรรม เวลาไม่คอยท่า และพระพุทธศาสนา ยังมีอะไรให้สงเสริมและปกป้องอีกมาก อย่าติดอยู่ตรงนี้เลย เรายังต้องเดินทางกันอีกต่อไปจนกว่าจะถึงซึ่งพระนิพพาน

ขออนุโมทนายิ่งกับความตั้งใจประพฤติธรรมอยางจริงจัง แต่ขออย่าให้เป็นการยึดติด

ขอให้โชคดีและมีความสุข
โดยคุณ : อิทธิพงศ์ - [ 16 เม.ย. 2003 , 11:59:34 น.]

ตอบ
ข้อความในพระไตรปิฎกนั้นเข้าใจว่าปรากฏบันทึกหลังเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน พุทธศาสนิกชนพึงควรสดับด้วยปัญญา พูดใช้ชัดคือ ไม่มีใครณ ปัจจุบันสามารถยืนยันได้ว่าคือพุทธโอวาททุกถ้อยคำ ส่วนตัวเคยกังขา " ดูกรอานนท์ ก็ถ้าสตรีจักไม่ได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว พรหมจรรย์จักตั้งอยู่ได้นานสัทธรรมจะพึงตั้งอยู่ตลอดพันปี ก็เพราะสตรีออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว บัดนี้ พรหมจรรย์จักไม่ตั้งอยู่ได้นาน สัทธรรมจักตั้งอยู่ได้เพียง 500 ปีเท่านั้น " เมื่อลดอัตตาน้อมใจพิจารณาจักประจักษ์แง่งามแตกต่างกันไป ...
ธรรมทั้งปวงไม่ควรถือมั่น...
เฝ้ามอง ตรวจสอบว่ายังประโยชน์แก่ตนแลผู้อื่น...
โดยคุณ : ขัตติยา - [ 17 เม.ย. 2003 , 10:48:14 น.]

ตอบ
ผมอ่านข้อความแล้วเห็นว่าคุณอิทธิพงศ์ ใช้คำที่ถูกต้องแล้ว ทุกอย่างล้วนอนิจจัง ควรที่จะแสวงหานิพพานกันดีกว่า เหตุเพราะชีวิตคนเราสั้นนัก เวลาก็เหลือน้อย พระพุทธองค์ก็ยังเร่งให้พระภิกษุสงฆ์เร่งค้นหานิพพานเลย แล้วเราจะมาเหตุกันเพราะเรื่องที่ไม่เป็นเรื่องได้อย่างไร นิพพานจริงอยู่ไม่มีการแบ่งแยกชายหญิง แต่การบรรลุนิพพานนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นภิกษุณี เป็นฆราวาสก็นิพพานได้ หรือถ้าจะศึกษาธรรมกันอย่างจริงจังแล้วก็ไม่จำเป็นต้องหาเอามาเป็นเหตุให้ต้องบวชเป็นภิกษุณีเลย การที่เอ่ยอ้างถึงว่าองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เคยอนุญาตให้สตรีบวชได้นั้น ข้อนี้ไม่ควรเอามาเป็นเหตุ เป็นเพราะพระองค์ทรงมีพระเมตตาคุณ พระกรุณาธิคุณต่างหากเล่า
สรุปผมเห็นว่า จะบวชก็ดีไม่บวชก็ดี มิใช่เป็นเหตุแห่งนิพพาน เหตุที่บวชภิกษุณีก็เพราะ ต้องการเริ่มให้มีภิกษุณีเท่านั้นใช่หรือไม่ และภิกษุณีเคยกราบไหว้พระภิกษุสงฆ์ที่บวชได้เพียงวันเดียวแล้วหรือยัง หรือยังมีฐิติอยู่ว่าต้วเองบวชมานานกว่า
โดยคุณ : mink - [ 18 เม.ย. 2003 , 15:18:35 น.]

ตอบ
ผมเห็นว่าการที่เราบวชนั้นเราตั้งใจที่จะถึงที่สุดแห่งธรรมคือนิพพาน การที่เราบวชเป็นภิกษุสงฆ์หรือภิกษุณีก็เพื่อเราตระหนักว่าเรานะอยู่ในศีลธรรมจะได้ระมัดระวังตนได้ดีขึ้น ฉันใดก็ฉันนั้นเมื่อเราเป็นนักเรียนนักศึกษาเราก็ต้องแต่งกายเครื่องแบบนักเรียนนักศึกษา เมื่อบุคคลที่เสียสละตนเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ผู้ที่เป็นบุคคลสำคัญที่ทำหน้าที่สืบทอดพระพุทธศาสนาอันเป็นแกนหลัก ที่จะเเผยแพร่คำสอนของพระองค์ท่าน
ผมเองก็ทำหน้าที่ในฐานะที่เป็น 1 ในพุทธบริษัท 4 ก็จะทำหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุด
สำหรับหลวงแม่แล้ว ความรู้ท่านถึง ดร. ก็เป็นเครื่องหมายที่การันตีได้ และบวกกับท่านมีความรู้ที่เกี่ยวข้องพระพุทธศาสนามากมายและภาษาของท่านก็เก่งกาจ(จากการแปลหนังสือ) จะหาใครสักคนที่ทำงานเสียสละตนโดยไม่หวังเงินทอง หวังเพียงเพื่อการสืบทอด เผยแพร่และเป็นที่พึ่งของสังคม ที่ต่างไปจากคนบางกลุ่มที่เรียนจบก็สูง เวลาทำงานก็ขอเงินเยอะๆงานสบาย กลับไม่เคยนึกที่จะตอบแทนสังคม เรากลับลืมไปว่ายังมีคนที่ลำบากกว่ามากมาย มัวแต่จะคอยชิงดีชิงเด่น มือใครยาวสาวได้สาวเอา ซึ่งเราเอง(ผู้ใหญ่)กำลังปลูกฝังค่านิยมที่เอามากๆ แล้วเด็กรุ่นหลังจะเป็นเช่นไร
เมื่อวานนี้ผมกลับบ้าน ทุกคนต่างกันแย่งขึ้นรถหวังจะนั่งกัน และแล้วก็มีคนชราถือไม้เท้าขึ้นรถ ผมก็รุกให้นั่ง ในใจก็นึกว่า ถ้าเป็นนเราตอนชรา เป็นพ่อเรา แม่เรา หรือคนที่เรารัก จะเป็นเช่นไร เมื่อมองไปดูคนอื่นเขากับนั่งเฉยๆ ผมนะลุกขึ้นให้นั่งกลับเป็นตัวประหลาดในสายตาพวกเขา สังคมกำลังเปลี่ยนไปในทางที่ตรงกันข้ามกับเทคโนโลยี เรา(ผู้ใหญ่)หรือเขา(เยวชน)ที่ทำให้เกิดการเปลียนแปลง
โดยคุณ : เต่าน้อย - [ 18 เม.ย. 2003 , 21:14:12 น.]

ตอบ
" ภิกษุณีเคยกราบไหว้พระภิกษุสงฆ์ที่บวชได้เพียงวันเดียวแล้วหรือยัง หรือยังมีฐิติอยู่ว่าต้วเองบวชมานานกว่า "
ทิฐิแลอัตตา...กุศลจิตแลอกุศลจิต
โดยคุณ : ขัตติยา - [ 19 เม.ย. 2003 , 10:57:56 น.]

ตอบ
เดิมตั้งใจไว้ว่าจะยุติการเสวนาแล้วกับผู้ที่กล่าวล่วงต่อพระไตรปิฎก ความว่า "ความในพระไตรปิฎกนั้นเข้าใจว่าปรากฏบันทึกหลังเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน พุทธศาสนิกชนพึงควรสดับด้วยปัญญา พูดใช้ชัดคือ ไม่มีใครณ ปัจจุบันสามารถยืนยันได้ว่าคือพุทธโอวาททุกถ้อยคำ......" โดยคุณ : ขัตติยา - [ 17 เม.ย. 2003 , 10:48:14 น.] การกล่าวล่วงพระไตรปิฎกเช่นนี้อันตรายนักทั้งต่อผู้ประพฤติธรรม และสัตว์โลกทั้งหลาย และหวังเหลือเกินที่จะมองในแง่ดีว่าความเห็นนี้คงจะเป็นเพียงปัจเจกทิฑฏิเฉพาะตนเท่านั้น มิได้แพร่หลายสู่บุคคลผู้เกี่ยวเนื่อง

ด้วยเห็นว่าเป็นสาวกแห่งพระพุทธองค์ด้วยกันจึงแวะเวียนมาเกี่ยวเนื่องด้วย หาไม่แล้วข้าพเจ้าคงไม่ประพฤติเช่นนี้ ดังที่ได้กล่าวไว้แล้วแต่ข้างต้นว่ามิได้มีเจตนาร้ายแต่ประการใด มิได้เป็นขบวนการ หรือองค์กรใดทั้งสิ้น เป็นเพียงความเห็นของพุทธศานิกผู้หนึ่ง ซึ่งบางขณะอาจจะนิ่งเฉยเสีย หรือบางขณะเมื่อเห็นว่าหากติงมาแล้วได้ประโยชน์บ้างก็พึงทำ หากข้าพเจ้านิ่งเฉยเสีย ตนเองก็คงรู้สึกผิดเช่นกัน เพราะ ณ ที่นี้น่าจะถือเป็นสาธารณะสถาน ย่อมมีความคิดเห็นหลากหลายมาประชุมกัน ประโยชน์อันพึงมีก็คือการเป็นสถานที่ที่มาปรับทิฑฏิต่างๆให้เป็นสัมมาเสีย

อย่างไรก็ตามข้าพเจ้าก็ใคร่ขอความรู้จากท่านทั้งหลายด้วยเช่นกัน หากคำพูดใดของข้าพเจ้าบ่งบอกถึงความไม่รู้ ในเรื่องใดๆ ขอได้โปรดชี้แจงให้ข้าพเจ้าได้ทราบความจริงด้วย เพื่อจะได้สนทนากันด้วยจิตบริสุทธิ พากันเดินทางสู่ที่สูงกันต่อไป
โดยคุณ : อิทธิพงศ์ - [ 21 เม.ย. 2003 , 11:32:27 น.]

ตอบ
กราบขอประทานโทษทุกท่าน โดยเฉพาะต่อคุณอิทธิพงศ์ โดยส่วนตัวไม่มีจิตคิดกล่าวล่วงต่อพระไตรปิฎก เพียงเสนอสะท้อนอีกมุมมองหนึ่งเท่านั้น
โดยคุณ : ขัตติยา - [ 21 เม.ย. 2003 , 15:36:09 น.]

ตอบ
มีภิกษุณี ถูกต้องจริงหรือ ถ้าคุณไปตั้งศาสนาใหม่ ผมจะเห็นด้วยอย่างยิง อะไรที่ขัดกับ พุทธบัญญัติอย่าทัาเลยครับ นรกจะกินหัวไม่ได้เกินในที่ดี อย่าทําลายศาสนา เลยครับ ไอ้พวกดีแต่คิดเอง แต่มีปัญญาแค่หางอึ่ง พยายามเทียบกับพระพุทธเจ้า น่าสงสารจริง ถ้าอยากช่วยพุทธศาสนาจริง มาเรียนอภิธรรมดีกว่า ไปเรื่องไรสาระ เปิดประตูไปสู่นรก
โดยคุณ : นิรนาม - [ 22 เม.ย. 2003 , 10:54:13 น.]

ตอบ
ถึงคุณนิรนาม
มีตาหามีแววไม่ พระพุทธศาสนาประกอบไปด้วยพุทธบริษัท 4 คือ ภิกษุสงฆ์ ภิกษุณีสงฆ์ อุบาสก อุบาสิกา เด็กป.4 หรือ ป.5 ก็ตอบได้ ภิกษุณีสงฆ์จึงเดะป็น 1 ในนั้น เพื่อที่จะสืบทอดพระพุทธศาสนา
คุณก็เป็นเพียงแค่กะพี้ของเปลือกไม้ ไม่ได้เข้าใจถึงแก่นแท้ของพระพุทธศาสนา เปิดใจรับความเป็นจริงบ้างนะครับ ถ้าเรามีพระภิกษุณีสงฆ์เกิดขึ้นในประเทศไทย ประเทศไทยจะดีมากขึ้น เพราะจะช่วยอบรมให้แก่ฝ่ายหญิงเข้าใจปัญหาดีกว่าบุรุษเพศ จะได้เปิดใจคุยกัน เพราะสังคมเราเสื่อมลงมากขึ้นเพราะวัฒนธรรมตะวันตกที่ไหลบ่าเข้ามา โดยเฉพราะกลุ่มเยาวชนที่ยังไม่มีความว่าจะยึดแบบไหนเป็นแบบอย่าง
และอีกอย่างพุทธบริษัท 4 จะครบถ้วน เป็นที่น่ายินดีเป็นอย่างยิ่ง โลกเรา ประเทศเรา สังคมเราจะได้สงบสุขนะ
โดยคุณ : เต่าน้อย - [ 23 เม.ย. 2003 , 20:19:21 น.]

ตอบ
รู้สึกเหมือนการเลือกปฏิบัติทางเพศ ที่หญิงต้องอยู่ใต้ชาย ..สืบทอดปฏิบัติกันมา ไม่ว่าแม้แต่ชนชาติใด จนกลายเป็นอุปทานผิดๆ ที่ยังดำเนินต่อมาจนถึงทุกวันนี้

การนำข้ออ้างแบบนี้มาใช้ เป็นการคิดที่ไร้เหตุผล และไม่เป็นประโยชน์ต่อใครเลย
โดยคุณ : คนไทย - [ 21 พ.ค. 2003 , 10:25:03 น.]

ตอบ
ดิฉันเห็นด้วยกับคุณเต่าน้อย ภิกษุบวชเพื่ออะไร? ภิกษุณีก็บวชเพื่อสิ่งนั้น อยากให้คุณมองกันให้แง่ความเป็นในปัจจุบันกันว่าผู้หญิงในสมัยนี้ดูด้อยมาก คคุณลองไปดูในครังของวัดดีกว่าว่าหญิงที่ได้ชื่อว่าบวชที่ไม่ใช่ภิกษุณีเป็นอย่างไร .. ทำไมต้องเอาครุธรรมอ้างทุกครั้งเลย แต่หากจะกล่าวภิกษุณีหมดไปแล้ว + ไม่มีในฝ่ายเถรวาทแล้วจะทำให้มีไม่ได้เลยหรือ? อย่างนั้นภิกษุณีฝ่ายเถรวาทต้องหมดไปหรือศูนย์ไปเลยใช่ไหม?.. ดิฉันเองเพิ่งอายุ 19 ปีใจใฝ่ธรรมะ ยังคิดว่าดีเลย..อย่างน้อยเพศหญิงที่ต้องการบวชจะได้ใช้ชีวิตในพุทธศาสนาให้คุ้มค่ากับการที่ได้เกิดมาเป็นคนและเพื่อทางหลุดพ้นความสุขแห่งใจ
โดยคุณ : คนก้นบาตร - [ 28 พ.ค. 2004 , 16:57:15 น.]

ขอเชิญร่วมเสนอแนะความคิดเห็นครับ
จาก :
email :
icq :
รายละเอียด



กรุณาคลิ๊ก Post message เพียงครั้งเดียวครับ....