ตอบ
.เป็นการค้นหาอะไร ที่มันดีกว่าอยู่บ้านเรือน
2.ให้เป็นการทดลองอยู่อย่างไม่มีทรัพย์สมบัติ อยู่อย่างต่ำต้อย พระเณรรูปไหนที่จะบวชเพียงเดือนเดียว ก็ขอขอให้ถือเป็นโอกาสทดลองว่า จะมีชีวิตอยู่อย่างต่ำต้อย ไม่ต้องมีสมบัติเลย
3.ทดลองการบังคับตัว บังคับจิต บังคับความรู้สึก บังคับ หู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ
4.ทดลองสละทรัพย์สมบัติ ของรัก ของพอใจ ทดลองไปทุกสิ่งทุกอย่างที่ควรทดลอง
5.ประโยชน์ต่อตัวผู้บวช ได้เรียนรู้ธรรมะ ได้ปฏิบัติจริงได้ผลจริงๆ และได้รับสิ่งใหม่ที่ดีที่สุด คือเรื่องของพระธรรม ที่ทำให้บุคคลนั้นพ้นจากความทุกข์
6.ประโยชน์ต่อญาติผู้บวช ญาติพี่น้องทั้งบิดามารดา จะได้ใกล้ชิดพระศาสนามีความปิติยินดีในธรรมและศาสนามากขึ้น เรียกว่า เป็นญาติทางศาสนานั้นเอง ประโยชน์ทั้งหลายต่อสัตว์ทั้งหลาย ที่เวียนว่ายอยู่ในวัฏสงสาร และทั้งประโยชน์ต่อพระศาสนาเนื่องจากผู้บวช จะเป็นผู้เผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนแก่บุคคลทั่วไป และยั่งเป็นผู้สืบอายุพระศาสนาไว้ ให้คงอยู่คู่ลูกหลานคนไทยสืบไป
ในเมื่อบวชได้เพียงหนึ่งเดือน มันก็จะเป็นการบวชที่มีอานิสงค์มหาศาล อย่างที่ท่านอาจารย์แต่กาลก่อนท่านพูดไว้เป็นอุปมา เพื่อการคำนวณเพราะว่าไม่อาจจะพูดเป็นอย่างอื่น คือท่านพูดว่า ให้เอาฟ้าทั้งหมดนี้เป็นเหมือนแผ่นกระดาษ แล้วภูเขาพระสุเมรุเป็นเหมือนปากกาหรือพู่กัน ให้เอาแผ่นดินเป็นเหมือนกับหมึก เอาน้ำในมหาสมุทรเป็นน้ำละลายหมึก แล้วเขียนกันให้เป็นท้องฟ้า มันก็ไม่หมดอานิสงค์ของการบวช ท่านไม่รู้ว่าจะพูดอย่างไร ก็เลยพูดไว้เป็นอุปมาอย่างนั้น ว่าการบวช ถ้าบวชกันจริงมันมีอานิสงค์มากกว่านั้น
TOP
ประวัติความเป็นมาของคำว่า "นาค"
ชายเมื่อมีอายุครบ20ปีบริบูรณ์ จะสามารถอุปสมบท หรือบวช เป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา เพื่อศึกษาธรรมวินัยนำมาเป็นหลักในการประพฤติปฎิบัติต่อไปในการออกมาครองเรือนในภายภาคหน้าได้ สำหรับก่อนการบวชเรียนจะมีการไปอยู่วัดเพื่อเตรียมฝึกหัดในการท่องคำขานนาค และฝึกหัดซ้อมเกี่ยวกับวิธีบวช ในช่วงที่มาอยู่วัดนี้ ชาวบ้านจะเรียกผู้เตรียมตัวจะบวชว่า "นาค" หรือ " "พ่อนาค" "
อาจมีหลายๆคนสงสัยว่า ทำไมต้องเรียกผู้จะบวชว่านาค ทำไมไม่เรียกชื่ออื่น ประวัติความเป็นมาของคำว่า ""นาค" อาจทำให้หลายๆคนหายข้องใจได้ ซึ่งประวัติของคำว่า "นาค" มีดังนี้
ในสมัยพุทธกาล เมื่อครั้งพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังดำรงพระชนม์อยู่ มีพญานาคผู้หนึ่งได้แปลงร่างเป็นมนุษย์เข้ามาบวชเป็นพระภิกษุ อยู่มาวันหนึ่งได้เผลอนอนหลับ ร่างจึงกลับกลายเป็นพญานาคดั่งเดิม ภิกษุอื่นไปพบเข้าก็เกิดความเกรงกลัว เมื่อพระพุทธเจ้าทรงทราบจึงเรียกมาตรัสถาม ได้ความว่าเพราะเกิดความศรัทธาในพระพุทธศาสนาจึงปลอมตัวมาบวช พระพุทะองค์ทรงดำริว่าสัตว์ดิรัจฉานไม่อยู่ในฐานะควรจะบวชจึงโปรดให้ลงเพศบรรพชิตกลับไปเป็นาคดั่งเดิม แต่ภิกษุนั้นมีความอาลัย จึงขอฝากชื่อนาคไว้ในพระพุทธศาสนา ดังนั้นจึงมีคำเรียกขานคนที่ต้องการจะบวชว่า "นาค" สืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน
(ที่มา:ประเพณี พิธีมงคล และวันสำคัญของไทย)
TOP
คุณสมบัติการบรรพชาอุปสมบท
สิ่งเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้ก็ถือว่ามีส่วนสำคัญในการคัดเลือกบุคคลที่เหมาะสมจะมาอยู่ในสมณเพศ การหละหลวมในการพิจารณาคุณสมบัติเบื้องต้นของผู้ที่จะมาบวชให้คนทั่วไปเขากราบไหว้ นับถือ มีส่วนทำให้สถาบันศาสนาสั่นคลอน ดังจะเห็นได้จากสิ่งที่เคยเกิดขึ้นว่า คนเคยต้องโทษจำคุกในคดีอาญามาบวชเป็นพระแล้วก็นอกจากจะไม่อยู่ในศีลแล้วยังก่อคดีอุกฉกรรจ์อีกจนได้
ผู้ที่จะบวชเป็นสามเณรหรือพระได้ต้องมีคุณสมบัติดังนี้
๑.เป็นสุภาพชนที่มีความประพฤติดีประพฤติชอบ ไม่มีความประพฤติเสียหาย เช่นติดสุราหรือยาเสพติดให้โทษเป็นต้น และไม่เป็นคนจรจัด
๒.มีความรู้อ่านและเขียนหนังสือไทยได้
๓.ไม่เป็นผู้มีทิฏฐิวิบัติ
๔.ไม่เป็นคนล้มละลาย หรือมีหนี้สินผูกพัน
๕.เป็นผู้ปราศจากบรรพชาโทษ และมีร่างกายสมบูรณ์ อาจบำเพ็ญสมณกิจได้ ไม่เป็นคนชราไร้ความสามารถหรือทุพพลภาพ หรือพิกลพิการ
๖.มีสมณบริขารครบถ้วนและถูกต้องตามพระวินัย
๗.เป็นผู้สามารถกล่าวคำขอบรรพชาอุปสมบทได้ด้วยตนเอง และถูกต้องไม่วิบัติ
ต่อไปนี้เป็นลักษณะต้องห้ามสำหรับผู้จะบวชได้แก่
๑.เป็นคนทำความผิด หลบหนีอาญาแผ่นดิน
๒.เป็นคนหลบหนีราชการ
๓.เป็นคนต้องหาในคดีอาญา
๔.เป็นคนเคยถูกตัดสินจำคุกฐานเป็นผู้ร้ายสำคัญ
๕.เป็นคนถูกห้ามอุปสมบทเด็ดขาดทางพระศาสนา
๖.เป็นคนมีโรคติดต่ออันน่ารังเกียจ เช่นวัณโรคในระยะอันตราย
๗.เป็นคนมีอวัยวะพิการจนไม่สามารถปฏิบัติกิจพระศาสนาได้
สิ่งต่างๆ ข้างต้นจะมีเขียนถามไว้ในใบสมัครขอบวชซึ่งต้องไปเขียนที่วัดนั้นๆ
TOP
เครื่องอัฏฐบริขาร
อัฏฐบริขารซึ่งถือเป็นสิ่งจำเป็นที่ขาดเสียมิได้ มีความหมายว่า บริขาร ๘ แบ่งเป็นผ้า ๕ อย่างคือ สบง ๑ ประคตเอว ๑ จีวร ๑ สังฆาฏิ ๑ ผ้ากรองน้ำ ๑
และเหล็ก ๓ อย่างคือ บาตร ๑ มีดโกน ๑ เข็มเย็บผ้า ๑
TOP
คำขอบรรพชา อุปสมบท
ผู้ขอบรรพชานั่งคุกเข่าประคองผ้าไตรประนมมือ เปล่งคำขอว่า
เอสาหัง ภันเต, สุจิระปะรินิพพุตัมปิ, ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คัจฉามิ, ธัมมัญจะ ภิกขุสังฆัญจะ, ละเภยยาหัง ภันเต, ตัสสะ ภะคะวะโต, ธัมมะวินะเย ปัพพัชชัง, ละเภยยัง อุปะสัมปะทัง.ฯ
ทุติยัมปาหัง ภันเต, สุจิระปะรินิพพุตัมปิ, ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คัจฉามิ, ธัมมัญจะ ภิกขุสังฆัญจะ, ละเภยยาหัง ภันเต, ตัสสะ ภะคะวะโต, ธัมมะวินะเย ปัพพะชัง, ละเภยยัง อุปะสัมปะทัง.ฯ
ตะติยัมปาหัง ภันเต, สุจิระปะรินิพพุตัมปิ, ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คัจฉามิ, ธัมมัญจะ ภิกขุสังฆัญจะ, ละเภยยาหัง ภันเต, ตัสสะ ภะคะวะโต, ธัมมะวินะเย ปัพพะชัง, ละเภยยัง อุปะสัมปะทัง ฯ
อะหัง ภันเต, ปัพพัชชัง ยาจามิ, อิมานิ กาสายานิ วัตถานิ คะเหตวา, ปัพพาเชถะ มัง ภันเต, อะนุกัมปัง อุปาทายะ,ฯ
ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต, ปัพพัชชัง ยาจามิ, อิมินา กาสายานิ วัตถานิ คะเหตวา, ปัพพาเชถะ มัง ภันเต, อะนุกัมปัง อุปาทายะ, ฯ
ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต, ปัพพัชชัง ยาจามิ, อิมินา กาสายานิ วัตถานิ คะเหตวา, ปัพพาเชถะ มัง ภันเต, อะนุกัมปัง อุปาทายะ. ฯ ( จบคำขอบรรพชา อุปสมบท ตอนที่1)
(ข้อสังเกต การออกเสียงภาษาไทย กับ ภาษามคธ นั้น ต่างกันเฉพาะตอนนี้มีอยู่ ๒ คำ คือ ตัว พ...(พาน) กับตัว ท..(ทหาร) ภาษามคธตัว พ. ออกเสียงคล้ายตัว บ (ใบไม้) อย่างเช่น.....สุจิระปะรินิพพุตัมปิ ออกเสียงเป็น สุจิระปะรินิพ บุ ตัมปิ, ตัว ท. ออกเสียงคล้ายตัว ด (เด็ก).........อุปะสัมปะทัง เป็น อุปะสัมปะ ดัง., เฉพาะตัว ญ. ฎ. ฐ. ณ. ออกเสียงเป็นพิเศษให้ขึ้นนาสิก - เพดาน )
เมื่อว่าคำขอบรรพชาอุปสมบทจบแล้ว น้อมตัวถวายผ้าไตรในมือแด่อุปัชฌาย์ แล้วนั่งพับเพียบประนมมือฟังคำสอนจากพระอุปัชฌาย์...........เมื่อพระอุปัชฌาย์สอนจบ บอก ตจปัญจกกัฏฐาน พึงว่าตามท่านไปทุกๆคำดังนี้
เกสา, โลมา, นะขา, ทันตา, ตะโจ, (อย่างนี้เรียกว่า ว่าโดยอนุโลม) แล้วว่าถอยกลับอีกครั้ง
ตะโจ , ทันตา, นะขา, โลมา, เกสา, (อย่างนี้เรียกว่า ว่าโดยปฏิโลม)
เมื่อพระอุปัชฌาย์อธิบายถึงข้อกรรมฐานพอสมควรแล้ว ท่านก็หยิบผ้าอังสะสวมให้ ตอนนี้ผู้บวชลุกขึ้นนั่งคุกเข่าน้อมตัวลงแต่พองาม เมื่อท่านสวมผาอังสะเข้าบ่าแล้ว ยกผ้าไตรมอบให้ในมือ น้อมตัวเข้ารับและคอยฟังคำแนะนำวิธีครองผ้ามี่ถูกต้องเป็นปริมณฑล ผู้บวชนำผ้าไปครอง สำเร็จเป็นสามเณร แล้วเข้าไปกราบพระเถระซึ่งเป็นอาจารย์ให้สรณะและศีลฯ ปูผ้ากราบลงยกพานดอกไม้ถวายท่านแล้วกราบลงบนผ้ากราบ ๓ ครั้ง ว่าคำขอสรณะและศีล ต่อไป ดังนี้ ฯ
อะหัง ภันเต, สะระณะสีลัง ยาจามิ.
ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต, สะระณะสีลัง ยาจามิ.
ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต, สะระณะสีลัง ยาจามิ. ฯ
เมื่อพระเถระอาจารย์บอก(ให้) สรณะและศีลก็พึงว่าตามท่านไป โดยว่า นะโม ก่อน ดังต่อไปนี้
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (๓ครั้ง) (อย่าลืม ออกเสียงตัว พ. คล้ายตัว บ สัมบุทธัสสะ) และเมื่อท่านว่า "เอวัง วะเทหิ" พึงรับว่า "อามะ ภันเต" ต่อไปว่าคำถึงสรณะ และศีลตามท่านตามลำดับ
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
. ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ.
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ ฯ
เมื่อพระเถระอาจารย์กล่าวคำว่า "สะระณะ คะมะนัง นิฏฐิตัง" พึงรับว่า "อามะ ภันเต" ต่อไปรับศีล ๑๐
๑. ปาณาติปาตา เวระมะณี ( ตัว ณ (เณร) ว่าขึ้นนาสิก ณี)
๒. อะทินนาทานา เวระมะณี (ตัว ท (ทหาร) ออกเสียงคล้ายตัว ด )
๓. อะพรัหมะจะริยา เวระมะณี
๔. มุสาวาทา เวระมณี
๕. สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี
๖. วิกาละโภชะนา เวระมะณี
๗. นัจจะ คีตะ วาทิตะ วิสูกะ ทัสสะนา เวระมะณี
๘. มาลาคันธะ วิเลปะนะ ธารนะ มัณฑะนะ วิภูสะนัฏฐานา เวระมะณี
๙. อุจจาสะยะนะ มะหาสะยะนา เวรมณี
๑๐. ชาตะรูปะระชะตะปะติคคะหะณา เวรมณี ฯ
อิมานิ ทะสะ (ดะสะ) สิกขาปะทานิ สะมาทิยามิ. (ว่า ๓ ครั้ง) กราบลง ๓ ครั้ง
( ผู้จะอุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อรับศีลเสร็จแล้ว กราบอาจารย์ผู้ให้สรณะและรับศีลแล้ว ลุกขึ้นไปรับบาตรจากโยมแม่ โยมพ่อ ถือบาตรเข้าไปหาพระอุปัชฌาย์ ปูผ้ากราบลงโดยวางบาตรลงทางด้านซ้ายมือ ยกพานดอกไม้ถวายพระอุปัชฌาย์, กราบลงบนผ้ากราบ ๓ ครั้ง ) นั่งคุกเข่าประนมมือกล่าวคำขอนิสัย ว่าดังนี้
อะหัง ภันเต, นิสสะยัง ยาจามิ.
ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต, นิสสะยัง ยาจามิ.
ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต, นิสสะยัง ยาจามิ.
แล้วว่าต่อ อุปัชฌาโย เม ภันเต โหหิ. (ว่า ๓ ครั้ง ) เมื่อพระอุปัชฌาย์กล่าวคำว่า " โอปายิกัง " พึงรับว่า สาธุ ภันเต
เมื่อพระอุปัชฌาย์กล่าวคำว่า " ปฏิรูปัง" พึงรับว่า สาธุ ภันเต
เมื่อพระอุปัชฌาย์กล่าวคำว่า " ปาสาทิเกนะ สัมปาเทหิ " พึงรับว่า สาธุ ภันเต
ต่อจากนั้นว่า "อัชชะตัคเคทานิ เถโร มัยหัง ภาโร, อะหัมปิ เถรัสสะ ภาโร " ( ๓ หน ) จบแล้วกราบ ๓ ครั้ง เมื่อพระอุปัชฌาย์บอกถึงวาระที่จะทำพิธีสวดญัตติกรรมบอกถึงฉายาของผู้ขออุปสมบท และฉายาของพระอุปัชฌาย์เองจบแล้ว อาจารย์ผู้สวดกรรมวาจา เอาบาตรสวมให้ บอกบาตร จีวร ฯลฯ ผู้อุปสมบทพึงรับคำว่า ดังนี้
อาจารย์ว่า อะยัน เต ปัตโต พึงรับว่า อามะ ภันเต
อาจารย์ว่า อะยัง สังฆาฏิ พึงรับว่า อามะ ภันเต
อาจารย์ว่า อะยัง อุตตะราสังโค พึงรับว่า อามะ ภันเต
อาจารย์ว่า อะยัง อันตะระวาสะกัง พึงรับว่า อามะ ภันเต
เมื่อพระกรรมวาจารย์กล่าวคำว่า "คัจฉะ อะมุมหิ โอกาโส ติฏฐาหิ" ก็ค่อยๆ ลุกขึ้นยืนกลับหลังหันเดินตรงประนมมือออกไปยืน ณ ที่ๆ เขาปูผ้าไว้ แล้วกลับหลังหันมาทางพระสงฆ์ เมื่อพระกรรมวาจารย์ลุกขึ้นออกจากประชุมสงฆ์ไปยืนประจันหน้าเพื่อชักซ้อมถามอันตรายิกกรรม...........เมื่อท่านถามถึงคำว่า..........
กุฏฐัง พึงตอบท่านว่า นัตถิ ภันเต
คัณโฑ พึงตอบท่านว่า นัตถิ ภันเต
กิลาโส พึงตอบท่านว่า นัตถิ ภันเต
โสโส พึงตอบท่านว่า นัตถิ ภันเต
อะปะมาโร พึงตอบท่านว่า นัตถิ ภันเต
. เมื่อท่านถามต่อไปว่า
มะนุสโสสิ๊ พึงตอบท่านว่า อามะ ภันเต
ปุริโสสิ๊ พึงตอบท่านว่า อามะ ภันเต
ภะชิสโสสิ๊ พึงตอบท่านว่า อามะ ภันเต
อะนะโณสิ๊ พึงตอบท่านว่า อามะ ภันเต
นะสิ๊ ราชะภะโฏ พึงตอบท่านว่า อามะ ภันเต
อนุญญาโตสิ๊ มาตาปิตูหิ พึงตอบท่านว่า อามะ ภันเต
ปะริปุณณะวีสะติวัสโสสิ๊ พึงตอบท่านว่า อามะ ภันเต
ปะริปุณณันเต ปัตตะจีวะรัง พึงตอบท่านว่า อามะ ภันเต
(รวมคำรับ ๘ ข้อ)
กิมนาโมสิ ถึงตอนนี้ พึงตอบท่านว่า อะหัง ภันเต............นามะ
โก นามะ เต อุปัชฌาโย พึงตอบท่านว่า อุปปัชฌาโย เม ภันเต อายัสสะมา........นามะ
เมื่อพระกรรมวาจารย์ซักซ้อมเสร็จแล้ว ท่านก็เดินกลับเข้าสู่ประชุมสงฆ์..........เมื่อท่านหันหน้ามาแล้วเรียกเข้าไปไปสู่ที่ประชุมสงฆ์ด้วยคำบาลีว่า......อาคัจเฉยัยยะ, อาคัจฉาหิ, พึงเดินด้วยความสำรวมเข้าไปสู่ที่ประชุมสงฆ์ ถึงแล้วกราบตรงหน้าพระอุปัชฌาย์ ๓ ครั้ง, ตั้งตัวตรงประนมมือว่าคำขออุปสมบท ดังนี้
สังฆัม ภันเต อุปะสัมปะทัง ยาจามิ(มะ)
อุลลุมปะตุ มัง(โน) ภันเต, สังโฆ อะนุกัมปัง อุปาทายะ
ทุติยัมปิ ภันเต, สังฆัง อุปะสัมปะทัง ยาจามิ(มะ)
อุลลุมปะตุ มัง(โน) ภันเต, สังโฆ อะนุกัมปัง อุปาทายะ
ตะติยัมปิ ภันเต, สังฆัง อุปะสัมปะทัง ยาจามิ(มะ)
อุลลุมปะตุ มัง(โน) ภันเต, สังโฆ อะนุกัมปัง อุปาทายะ . ฯ
ต่อจากนี้ พระกรรมวาจารย์จะซักถามอันตรายิกธรรมต่อหน้าสงฆ์อีกครั้ง ก็พึงตอบปฏิเสธว่า ( นัตถิ ภันเต ) ๕ ครั้ง และตอบว่า ( อามะ ภันเต ) ๘ ครั้ง พร้อมทั้งตอบฉายา ของตน และพระอุปัชฌายะ เหมือนอย่างข้างต้น ฯ
ต่อจากนี้ พระกรรมวาจารย์จะเริ่มสวดญัตติต่อไป ๔ จบ เป็นอันเสร็จเรื่องอุปสมบทกรรม ฯ ภิกษุใหม่พึงนั่งราบประนมมือฟังพระอุปัชฌายะบอกอนุศาสน์ต่อไปโดยความเคารพ เมื่อท่านบอกจบ พระใหม่พึงรับว่า อามะ ภันเต. ฯ
--------------------------------------------------------------------------------
พิมพ์ลงคอมพิวเตอร์ ๑๖ มีนาคม ๒๕๔๓ ต้นฉบับเดิมเป็นของ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
TOP
ศีลของสามเณรและพระ
สามเณรต้องถือศีล ๑๐ ข้ออันได้แก่
๑.เว้นจากการฆ่าสัตว์ทั้งมนุษย์และเดรัจฉาน
๒.เว้นจากการลักทรัพย์
๓.เว้นจากการเสพเมถุน
๔.เว้นจากการพูดเท็จ
๕.เว้นจากการดื่มสุราและเมรัย
๖.เว้นจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล (หลังเที่ยงวันไปแล้ว)
๗.เว้นจากการฟ้อนรำขับร้องและการบรรเลง ตลอดถึงการดูการฟังสิ่งเหล่านั้น
๘.เว้นจากการทัดทรงตกแต่งประดับร่างกาย การใช้ดอกไม้ของหอมเครื่องประเทืองผิวต่างๆ
๙.เว้นจากการนอนที่นอนสูงใหญ่และยัดนุ่นสำลีอันมีลายวิจิตร (เว้นจากการนั่งนอนเหนือเตียงตั่งที่มีเท้าสูงเกินประมาณ)
๑๐.เว้นจากการรับเงินทอง
--------------------------------------------------------------------------------
พระภิกษุต้องถือศีล ๒๒๗ ข้ออันได้แก่
ศีล ๒๒๗ ข้อที่เป็นวินัยของสงฆ์ ทำผิดถือว่าเป็นอาบัติ สามารถแบ่งออกได้เป็นลำดับขั้น ตั้งแต่ขั้นรุนแรงจนกระทั่งเบาที่สุดได้ดังนี้ ได้แก่
ปาราชิก มี ๔ ข้อ
สังฆาทิเสส มี ๑๓ ข้อ
อนิยต มี ๒ ข้อ (อาบัติที่ไม่แน่ว่าจะปรับข้อไหน)
นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ ข้อ (อาบัติที่ต้องสละสิ่งของว่าด้วยเรื่องจีวร ไหม บาตร อย่างละ ๑๐ข้อ)
ปาจิตตีย์ มี ๙๒ ข้อ (ว่าด้วยอาบัติที่ไม่ต้องสละสิ่งของ)
ปาฏิเทสนียะ มี ๔ ข้อ (ว่าด้วยอาบัติที่พึงแสดงคืน)
เสขิยะ (ข้อที่ภิกษุพึงศึกษาเรื่องมารยาท) แบ่งเป็น
สารูปมี ๒๖ ข้อ (ความเหมาะสมในการเป็นสมณะ)
โภชนปฏิสังยุตต์ มี ๓๐ ข้อ (ว่าด้วยการฉันอาหาร)
ธัมมเทสนาปฏิสังยุตต์ มี ๑๖ ข้อ (ว่าด้วยการแสดงธรรม)
ปกิณสถะ มี ๓ ข้อ (เบ็ดเตล็ด)
อธิกรณสมถะ มี ๗ ข้อ (ธรรมสำหรับระงับอธิกรณ์)
รวมทั้งหมดแล้ว ๒๒๗ ข้อ ผิดข้อใดข้อหนึ่งถือว่าต้องอาบัติ การแสดงอาบัติสามารถกล่าวกับพระภิฏษุรูปอื่นเพื่อเป็นการแสดงตนต่อความผิดได้ แต่ถ้าถึงขั้นปาราชิกก็ต้องสึกอย่างเดียว
ปาราชิก มี ๔ ข้อได้แก่
๑. เสพเมถุน แม้กับสัตว์เดรัจฉานตัวเมีย (ร่วมสังวาสกับคนหรือสัตว์)
๒. ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของไม่ได้ให้มาเป็นของตน จากบ้านก็ดี จากป่าก็ดี (ขโมย)
๓. พรากกายมนุษย์จากชีวิต (ฆ่าคน)หรือแสวงหาศาสตราอันจะนำไปสู่ความตายแก่ร่างกายมนุษย์
๔. กล่าวอวดอุตตริมนุสสธัมม์ อันเป็นความเห็นอย่างประเสริฐ อย่างสามารถ น้อมเข้าในตัวว่า ข้าพเจ้ารู้อย่างนี้ ข้าพเจ้าเห็นอย่างนี้ (ไม่รู้จริง แต่โอ้อวดความสามารถของตัวเอง)
สังฆาทิเสส มี ๑๓ ข้อ ถือเป็นความผิดหากทำสิ่งใดต่อไปนี้ ๑.ปล่อยน้ำอสุจิด้วยความจงใจ เว้นไว้แต่ฝัน ๘.แกล้งใส่ความว่าปาราชิกโดยไม่มีมูล
๒.เคล้าคลึง จับมือ จับช้องผม ลูบคลำ จับต้องอวัยวะอันใดก็ตามของสตรีเพศ ๙.แกล้งสมมุติแล้วใส่ความว่าปาราชิกโดยไม่มีมูล
๓.พูดจาหยาบคาย เกาะแกะสตรีเพศ เกี้ยวพาราสี ๑๐.ยุยงสงฆ์ให้แตกกัน
๔.การกล่าวถึงคุณในการบำเรอตนด้วยกาม หรือถอยคำพาดพิงเมถุน ๑๑.เป็นพวกของผู้ที่ทำสงฆ์ให้แตกกัน
๕.ทำตัวเป็นสื่อรัก บอกความต้องการของอีกฝ่ายให้กับหญิงหรือชาย แม้สามีกับภรรยา หรือแม้แต่หญิงขายบริการ ๑๒.เป็นผู้ว่ายากสอนยาก และต้องโดนเตือนถึง 3 ครั้ง
๖.สร้างกุฏิด้วยการขอ ๑๓. ทำตัวเป็นเหมือนคนรับใช้ ประจบคฤหัสถ์
๗.สร้างวิหารใหญ่ โดยพระสงฆ์มิได้กำหนดที่ รุกรานคนอื่น
อนิยตกัณฑ์ มี ๒ ข้อได้แก่
๑. การนั่งในที่ลับตา มีอาสนะกำบังอยู่กับสตรีเพศ และมีผู้มาเห็นเป็นผู้ที่เชื่อถือได้พูดขึ้นด้วยธรรม ๓ ประการอันใดอันหนึ่งกล่าวแก่ภิกษุนั้นได้แก่ ปาราชิกก็ดี สังฆาทิเสสก็ดี หรือปาจิตตีย์ก็ดี ภิกษุนั้นถือว่ามีความผิดตามที่อุบาสกผู้นั้นกล่าว
๒. ในสถานที่ที่ไม่เป็นที่ลับตาเสียทีเดียว แต่เป็นที่ที่จะพูดจาค่อนแคะสตรีเพศได้สองต่อสองกับภิกษุผู้เดียว และมีผู้มาเห็นเป็นผู้ที่เชื่อถือได้พูดขึ้นด้วยธรรม 2 ประการอันใดอันหนึ่งกล่าวแก่ภิกษุนั้นได้แก่ สังฆาทิเสสก็ดี หรือปาจิตตีย์ก็ดี ภิกษุนั้นถือว่ามีความผิดตามที่อุบาสกผู้นั้นกล่าว
นิสสัคคิยปาจิตตีย์ มี ๓๐ ข้อ ถือเป็นความผิดได้แก่ ๑.เก็บจีวรที่เกินความจำเป็นไว้เกิน ๑๐ วัน ๑๖.นำขนเจียมไปด้วยตนเองเกิน ๓ โยชน์ เว้นแต่มีผู้นำไปให้
๒.อยู่โดยปราศจากจีวรแม้แต่คืนเดียว ๑๗.ใช้ภิกษุณีที่ไม่ใช้ญาติทำความสะอาดขนเจียม
๓.เก็บผ้าที่จะทำจีวรไว้เกินกำหนด ๑ เดือน ๑๘.รับเงินทอง
๔.ใช้ให้ภิกษุณีซักผ้า ๑๙.ซื้อขายด้วยเงินทอง
๕.รับจีวรจากมือของภิกษุณี ๒๐.ซื้อขายโดยใช้ของแลก
๖.ขอจีวรจากคฤหัสถ์ที่ไม่ใช่ญาติ เว้นแต่จีวรหายหรือถูกขโมย ๒๑.เก็บบาตรที่มีใช้เกินความจำเป็นไว้เกิน ๑๐ วัน
๗.รับจีวรเกินกว่าที่ใช้นุ่ง เมื่อจีวรถูกชิงหรือหายไป ๒๒.ขอบาตร เมื่อบาตรเป็นแผลไม่เกิน ๕ แห่ง
๘.พูดทำนองขอจีวรดีๆ กว่าที่เขากำหนดจะถวายไว้แต่เดิม ๒๓.เก็บเภสัช ๕ (เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย)ไว้เกิน ๗ วัน
๙.พูดให้เขารวมกันซื้อจีวรดีๆ มาถวาย ๒๔.แสวงและทำผ้าอาบน้ำฝนไว้เกินกำหนด ๑ เดือนก่อนหน้าฝน
๑๐.ทวงจีวรจากคนที่รับอาสาเพื่อซื้อจีวรถวายเกินกว่า ๓ ครั้ง ๒๕.ให้จีวรภิกษุอื่นแล้วชิงคืนในภายหลัง
๑๑.หล่อเครื่องปูนั่งที่เจือด้วยไหม ๒๖.ขอด้ายเอามาทอเป็นจีวร
๑๒.หล่อเครื่องปูนั่งด้วยขนเจียม (ขนแพะ แกะ) ดำล้วน ๒๗.กำหนดให้ช่างทอทำให้ดีขึ้น
๑๓.ใช้ขนเจียมดำเกิน ๒ ส่วนใน ๔ ส่วน หล่อเครื่องปูนั่ง ๒๘.เก็บผ้าจำนำพรรษา (ผ้าที่ถวายภิกษุเพื่ออยู่พรรษา) เกินกำหนด
๑๔.หล่อเครื่องปูนั่งใหม่ เมื่อของเดิมยังใช้ไม่ถึง ๖ ปี ๒๙.อยู่ป่าแล้วเก็บจีวรไว้ในบ้านเกิน ๖ คืน
๑๕.เมื่อหล่อเครื่องปูนั่งใหม่ ให้เอาของเก่าเจือปนลงไปด้วย ๓๐.น้อมลาภสงฆ์มาเพื่อให้เขาถวายตน
ปาจิตตีย์ มี ๙๒ ข้อได้แก่ ๑.ห้ามพูดปด ๔๗.ห้ามขอของเกินกำหนดเวลาที่เขาอนุญาตไว้
๒.ห้ามด่า ๔๘.ห้ามไปดูกองทัพที่ยกไป
๓.ห้ามพูดส่อเสียด ๔๙.ห้ามพักอยู่ในกองทัพเกิน ๓ คืน
๔.ห้ามกล่าวธรรมพร้อมกับผู้ไม่ได้บวชในขณะสอน ๕๐.ห้ามดูเขารบกันเป็นต้น เมื่อไปในกองทัพ
๕.ห้ามนอนร่วมกับอนุปสัมบัน(ผู้ไม่ใช้ภิกษุ)เกิน ๓ คืน ๕๑.ห้ามดื่มสุราเมรัย
๖.ห้ามนอนร่วมกับผู้หญิง ๕๒.ห้ามจี้ภิกษุ
๗.ห้ามแสดงธรรมสองต่อสองกับผู้หญิง ๕๓.ห้ามว่ายน้ำเล่น
๘.ห้ามบอกคุณวิเศษที่มีจริงแก่ผู้มิได้บวช ๕๔.ห้ามแสดงความไม่เอื้อเฟื้อในวินัย
๙.ห้ามบอกอาบัติชั่วหยาบของภิกษุแก่ผู้มิได้บวช ๕๕.ห้ามหลอกภิกษุให้กลัว
๑๐.ห้ามขุดดินหรือใช้ให้ขุด ๕๖.ห้ามติดไฟเพื่อผิง
๑๑.ห้ามทำลายต้นไม้ ๕๗.ห้ามอาบน้ำบ่อยๆเว้นแต่มีเหตุ
๑๒.ห้ามพูดเฉไฉเมื่อถูกสอบสวน ๕๘.ให้ทำเครื่องหมายเครื่องนุ่งห่ม
๑๓.ห้ามติเตียนภิกษุผู้ทำการสงฆ์โดยชอบ ๕๙.วิกัปจีวรไว้แล้ว (ทำให้เป็นสองเจ้าของ-ให้ยืมใช้) จะใช้ต้องถอนก่อน
๑๔.ห้ามทิ้งเตียงตั่งของสงฆ์ไว้กลางแจ้ง ๖๐.ห้ามเล่นซ่อนบริขารของภิกษุอื่น
๑๕.ห้ามปล่อยที่นอนไว้ ไม่เก็บงำ ๖๑.ห้ามฆ่าสัตว์
๑๖.ห้ามนอนแทรกภิกษุผู้เข้าไปอยู่ก่อน ๖๒.ห้ามใช้น้ำมีตัวสัตว์
๑๗.ห้ามฉุดคร่าภิกษุออกจากวิหารของสงฆ์ ๖๓.ห้ามรื้อฟื้นอธิกรณ์(คดีความ-ข้อโต้เถียง)ที่ชำระเป็นธรรมแล้ว
๑๘.ห้ามนั่งนอนทับเตียงหรือตั่งที่อยู่ชั้นบน ๖๔.ห้ามปกปิดอาบัติชั่วหยาบของภิกษุอื่น
๑๙.ห้ามพอกหลังคาวิหารเกิน ๓ ชั้น ๖๕.ห้ามบวชบุคคลอายุไม่ถึง ๒๐ ปี
๒๐.ห้ามเอาน้ำมีสัตว์รดหญ้าหรือดิน ๖๖.ห้ามชวนพ่อค้าผู้หนีภาษีเดินทางร่วมกัน
๒๑.ห้ามสอนนางภิกษุณีเมื่อมิได้รับมอบหมาย ๖๗.ห้ามชวนผู้หญิงเดินทางร่วมกัน
๒๒.ห้ามสอนนางภิกษุณีตั้งแต่อาทิตย์ตกแล้ว ๖๘.ห้ามกล่าวตู่พระธรรมวินัย (ภิกษุอื่นห้ามและสวดประกาศเกิน ๓ ครั้ง)
๒๓.ห้ามไปสอนนางภิกษุณีถึงที่อยู่ ๖๙.ห้ามคบภิกษุผู้กล่าวตู่พระธรรมวินัย
๒๔.ห้ามติเตียนภิกษุอื่นว่าสอนนางภิกษุณีเพราะเห็นแก่ลาภ ๗๐.ห้ามคบสามเณรผู้กล่าวตู่พระธรรมวินัย
๒๕.ห้ามให้จีวรแก่นางภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ๗๑.ห้ามพูดไถลเมื่อทำผิดแล้ว
๒๖.ห้ามเย็บจีวรให้นางภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ๗๒.ห้ามกล่าวติเตียนสิกขาบท
๒๗.ห้ามเดินทางไกลร่วมกับนางภิกษุณี ๗๓.ห้ามพูดแก้ตัวว่า เพิ่งรู้ว่ามีในปาฏิโมกข์
๒๘.ห้ามชวนนางภิกษุณีเดินทางเรือร่วมกัน ๗๔.ห้ามทำร้ายร่างกายภิกษุ
๒๙.ห้ามฉันอาหารที่นางภิกษุณีไปแนะให้เขาถวาย ๗๕.ห้ามเงื้อมือจะทำร้ายภิกษุ
๓๐.ห้ามนั่งในที่ลับสองต่อสองกับภิกษุณี ๗๖.ห้ามโจทภิกษุด้วยอาบัติสังฆาทิเสสที่ไม่มีมูล
๓๑.ห้ามฉันอาหารในโรงพักเดินทางเกิน ๓ มื้อ ๗๗.ห้ามก่อความรำคาญแก่ภิกษุอื่น
๓๒.ห้ามฉันอาหารรวมกลุ่ม ๗๘.ห้ามแอบฟังความของภิกษุผู้ทะเลาะกัน
๓๓.ห้ามรับนิมนต์แล้วไปฉันอาหารที่อื่น ๗๙.ให้ฉันทะแล้วห้ามพูดติเตียน
๓๔.ห้ามรับบิณฑบาตเกิน ๓ บาตร ๘๐.ขณะกำลังประชุมสงฆ์ ห้ามลุกไปโดยไม่ให้ฉันทะ
๓๕.ห้ามฉันอีกเมื่อฉันในที่นิมนต์เสร็จแล้ว ๘๑.ร่วมกับสงฆ์ให้จีวรแก่ภิกษุแล้ว ห้ามติเตียนภายหลัง
๓๖.ห้ามพูดให้ภิกษุที่ฉันแล้วฉันอีกเพื่อจับผิด ๘๒.ห้ามน้อมลาภสงฆ์มาเพื่อบุคคล
๓๗.ห้ามฉันอาหารในเวลาวิกาล ๘๓.ห้ามเข้าไปในตำหนักของพระราชา
๓๘.ห้ามฉันอาหารที่เก็บไว้ค้างคืน ๘๔.ห้ามเก็บของมีค่าที่ตกอยู่
๓๙.ห้ามขออาหารประณีตมาเพื่อฉันเอง ๘๕.เมื่อจะเข้าบ้านในเวลาวิกาล ต้องบอกลาภิกษุก่อน
๔๐.ห้ามฉันอาหารที่มิได้รับประเคน ๘๖.ห้ามทำกล่องเข็มด้วยกระดูก งา หรือเขาสัตว์
๔๑.ห้ามยื่นอาหารด้วยมือให้ชีเปลือยและนักบวชอื่นๆ ๘๗.ห้ามทำเตียง ตั่งมีเท้าสูงกว่าประมาณ
๔๒.ห้ามชวนภิกษุไปบิณฑบาตด้วยแล้วไล่กลับ ๘๘.ห้ามทำเตียง ตั่งที่หุ้มด้วยนุ่น
๔๓.ห้ามเข้าไปแทรกแซงในสกุลที่มีคน ๒ คน ๘๙.ห้ามทำผ้าปูนั่งมีขนาดเกินประมาณ
๔๔.ห้ามนั่งในที่ลับมีที่กำบังกับมาตุคาม (ผู้หญิง) ๙๐.ห้ามทำผ้าปิดฝีมีขนาดเกินประมาณ
๔๕.ห้ามนั่งในที่ลับ (หู) สองต่อสองกับมาตุคาม ๙๑.ห้ามทำผ้าอาบน้ำฝนมีขนาดเกินประมาณ
๔๖.ห้ามรับนิมนต์แล้วไปที่อื่นไม่บอกลา ๙๒.ห้ามทำจีวรมีขนาดเกินประมาณ
ปาฏิเทสนียะ มี ๔ ข้อได้แก่
๑. ห้ามรับของคบเคี้ยว ของฉันจากมือภิกษุณีมาฉัน
๒. ให้ไล่นางภิกษุณีที่มายุ่งให้เขาถวายอาหาร
๓. ห้ามรับอาหารในสกุลที่สงฆ์สมมุติว่าเป็นเสขะ (อริยบุคคล แต่ยังไม่ได้บรรลุเป็นอรหันต์)
๔. ห้ามรับอาหารที่เขาไม่ได้จัดเตรียมไว้ก่อนมาฉันเมื่ออยู่ป่า
เสขิยะ
สารูป มี ๒๖ ข้อได้แก่ ๑.นุ่งให้เป็นปริมณฑล (ล่างปิดเข่า บนปิดสะดือไม่ห้อยหน้าห้อยหลัง) ๑๔.ไม่พูดเสียงดังนั่งในบ้าน
๒.ห่มให้เป็นนปริมณฑล (ให้ชายผ้าเสมอกัน) ๑๕.ไม่โคลงกายไปในบ้าน
๓.ปกปิดกายด้วยดีไปในบ้าน ๑๖.ไม่โคลงกายนั่งในบ้าน
๔.ปกปิดกายด้วยดีนั่งในบ้าน ๑๗.ไม่ไกวแขนไปในบ้าน
๕.สำรวมด้วยดีไปในบ้าน ๑๘.ไม่ไกวแขนนั่งในบ้าน
๖.สำรวมด้วยดีนั่งในบ้าน ๑๙.ไม่สั่นศีรษะไปในบ้าน
๗.มีสายตาทอดลงไปในบ้าน (ตาไม่มองโน่นมองนี่) ๒๐.ไม่สั่นศีรษะนั่งในบ้าน
๘.มีสายตาทอดลงนั่งในบ้าน ๒๑.ไม่เอามือค้ำกายไปในบ้าน
๙.ไม่เวิกผ้าไปในบ้าน ๒๒.ไม่เอามือค้ำกายนั่งในบ้าน
๑๐.ไม่เวิกผ้านั่งในบ้าน ๒๓.ไม่เอาผ้าคลุมศีรษะไปในบ้าน
๑๑.ไม่หัวเราะดังไปในบ้าน ๒๔.ไม่เอาผ้าคลุมศีรษะนั่งในบ้าน
๑๒.ไม่หัวเราะดังนั่งในบ้าน ๒๕.ไม่เดินกระโหย่งเท้า ไปในบ้าน
๑๓.ไม่พูดเสียงดังไปในบ้าน ๒๖.ไม่นั่งรัดเข่าในบ้าน
โภชนปฏิสังยุตต์ มี ๓๐ ข้อคือหลักในการฉันอาหารได้แก่ ๑.รับบิณฑบาตด้วยความเคารพ ๑๖.ไม่เอามือทั้งมือใส่ปากในขณะฉัน
๒.ในขณะบิณฑบาต จะแลดูแต่ในบาตร ๑๗.ไม่พูดในขณะที่มีคำข้าวอยู่ในปาก
๓.รับบิณฑบาตพอสมส่วนกับแกง (ไม่รับแกงมากเกินไป) ๑๘.ไม่ฉันโดยการโยนคำข้าวเข้าปาก
๔.รับบิณฑบาตแค่พอเสมอขอบปากบาตร ๑๙.ไม่ฉันกัดคำข้าว
๕.ฉันบิณฑบาตโดยความเคารพ ๒๐.ไม่ฉันทำกระพุ้งแก้มให้ตุ่ย
๖.ในขณะฉันบิณฑบาต และดูแต่ในบาตร ๒๑.ไม่ฉันพลางสะบัดมือพลาง
๗.ฉันบิณฑบาตไปตามลำดับ (ไม่ขุดให้แหว่ง) ๒๒.ไม่ฉันโปรยเมล็ดข้าว
๘.ฉันบิณฑบาตพอสมส่วนกับแกง ไม่ฉันแกงมากเกินไป ๒๓.ไม่ฉันแลบลิ้น
๙.ฉันบิณฑบาตไม่ขยุ้มแต่ยอดลงไป ๒๔.ไม่ฉันดังจับๆ
๑๐.ไม่เอาข้าวสุกปิดแกงและกับด้วยหวังจะได้มาก ๒๕.ไม่ฉันดังซูดๆ
๑๑.ไม่ขอเอาแกงหรือข้าวสุกเพื่อประโยชน์แก่ตนมาฉัน หากไม่เจ็บไข้ ๒๖.ไม่ฉันเลียมือ
๑๒.ไม่มองดูบาตรของผู้อื่นด้วยคิดจะยกโทษ ๒๗.ไม่ฉันเลียบาตร
๑๓.ไม่ทำคำข้าวให้ใหญ่เกินไป ๒๘.ไม่ฉันเลียริมฝีปาก
๑๔.ทำคำข้าวให้กลมกล่อม ๒๙.ไม่เอามือเปื้อนจับภาชนะน้ำ
๑๕.ไม่อ้าปากเมื่อคำข้าวยังมาไม่ถึง ๓๐.ไม่เอาน้ำล้างบาตรมีเมล็ดข้าวเทลงในบ้าน
ธัมมเทสนาปฏิสังยุตต์ มี ๑๖ ข้อคือ ๑.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีร่มในมือ ๙.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่นั่งรัดเข่า
๒.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีไม้พลองในมือ ๑๐.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่โพกศีรษะ
๓.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีของมีคมในมือ ๑๑.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่คลุมศีรษะ
๔.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีอาวุธในมือ ๑๒.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่อยู่บนอาสนะ (หรือเครื่องปูนั่ง) โดยภิกษุอยู่บนแผ่นดิน
๕.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่สวมเขียงเท่า (รองเท้าไม้) ๑๓.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่นั่งบนอาสนะสูงกว่าภิกษุ
๖.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่สวมรองเท้า ๑๔.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่นั่งอยู่ แต่ภิกษุยืน
๗.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่ไปในยาน ๑๕.ภิกษุเดินไปข้างหลังไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่เดินไปข้างหน้า
๘.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่อยู่บนที่นอน ๑๖.ภิกษุเดินไปนอกทางไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่ไปในทาง
ปกิณสถะ มี ๓ ข้อ
๑. ภิกษุไม่เป็นไข้ไม่ยืนถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ
๒. ภิกษุไม่เป็นไข้ไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลงในของเขียว (พันธุ์ไม้ใบหญ้าต่างๆ)
๓. ภิกษุไม่เป็นไข้ไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลงในน้ำ
อธิกรณสมถะ มี ๗ ข้อได้แก่
๑. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ในที่พร้อมหน้า (บุคคล วัตถุ ธรรม)
๒. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยการยกให้ว่าพระอรหันต์เป็นผู้มีสติ
๓. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยยกประโยชน์ให้ในขณะเป็นบ้า
๔. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยถือตามคำรับของจำเลย
๕. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยถือเสียงข้างมากเป็นประมาณ
๖. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยการลงโทษแก่ผู้ผิด
๗. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยให้ประนีประนอมหรือเลิกแล้วกันไป
บทกิจวัตรเมื่อเป็นพระ
๑.ลงอุโบสถ (ทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็น)
๒.บิณฑบาตรเลี้ยงชีพ
๓.สวดมนต์ไหว้พระ
๔.กวาดอาวาสวิหารลานพระเจดีย์
๕.รักษาผ้าครอง
๖.อยู่ปริวาสกรรม
๗.โกนผม ปลงหนวด ตัดเล็บ
๘.ศึกษาสิกขาบทและปฏิบัติพระอาจารย์
๙.เทศนาบัติ
๑๐.พิจารณาปัจจเวกขณะทั้ง ๔ เป็นต้น
โดยคุณ : นนท์ -
[ 12 เม.ย. 2005 , 12:09:25 น.]
|