Thaimisc.com - Please Ctrl+DBookmark Now!

WEB BOARD


ธรรมทาน1
ธรรมทาน
จั่วหัวเอาไว้ว่า ธรรมทาน ก็ย่อมเป็นธรรมทานจริงๆของจริง เหตุที่ต้องเขียนกระทู้นี้ก็เพราะว่า เล็งเห็นว่า ในกาลนี้เป็นกาลเข้าพรรษา บรรดาพระภิกษุสงฆ์และฆราวาสส่วนหนึ่ง ก็มักนิยมปฏิบัติธรรมกันเป็นกิจวัตรอยู่เสมอมา ดังนั้นจึงใคร่แนะนำธรรมะ แม้ว่าเมื่ออ่านแล้วจะดูเหมือนกับเป็นการเอามะพร้าวห้าวมาขายสวน แต่ก็ย่อมมีประโยชน์ช่วยเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจให้ท่านทั้งหลายได้ไม่มากก็น้อย ธรรมะที่จะแนะนำให้ท่านทั้งหลายใน ธรรมทาน 1 นี้ก็คือ "พรหมวิหาร 4" บางท่านที่พออ่านมาถึงตอนนี้ก็จะร้องอ๋อ หรืออ่านจะพาลไม่อ่านต่อขึ้นมาก็คงจะมีอยู่บ้างเพราะ ธรรมะในหมวดนี้ เป็นธรรมะที่เราเห็นกันอยู่เนืองๆ แต่ท่านทั้งหลายรู้หรือไม่ว่า พรหมวิหาร 4 นี้ เป็นสภาพทางด้านใดแห่งสรีระร่างกายของสรรพสิ่ง พรหมวิหารสี่ เป็นหลักการหรือธรรมะ อันเป็นหนึ่งในหลายๆหมวด แห่งพระพุทธองค์ ซึ่งเป็นหลักการอันจักนำให้เราหรือให้ผู้ประพฤติธรรมหลุดพ้นจากวัฏสงสาร หลุดพ้นจากกิเลสได้เป็นบางส่วน ที่กล่าวว่าหลุดพ้นได้เป็นบางส่วนนั้นก็เพราะเหตุที่ว่า ธรรมะเป็นเรื่องละเอียดอ่อนไม่ใช่แค่นั่งสมาธิก็หลุดพ้นได้ สมาธิเป็นเพียงพื้นฐานของการปฏิบัติธรรม สิ่งที่จะทำให้หลุดพ้น หรือบรรลุสู่ขั้นอริยะบุคคลได้ แท้ที่จริงแล้วก็คือธรรมะ และธรรมะที่สามารถทำให้หลุดพ้นและสามารถทำให้บรรลุสู่ขั้นอริยะบุคคลได้(บรรลุไม่ใช่สำเร็จ)
หนึ่งในธรรมะนั้นก็คือ "พรหมวิหาร 4"
พรหมวิหาร 4 ประกอบไปด้วย
เมตตา
กรุณา
มุทิตา
อุเบกขา
ทั้ง 4 สิ่งนี้ เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวอันเป็น พรหมวิหาร 4
พรหมวิหาร 4 เป็นสภาพสภาวะจิตใจ หรือจะกล่าวว่าเป็นเป็นความรู้สึก อันเกิดจากประสบการณ์ ,เผ่าพันธุ์ ,แลเกิดจากความคิด ความเข้าใจ อาจจะกล่าวได้ว่า เป็นผล แห่ง การได้เห็น การได้ยิน การได้สัมผัส เป็นผลแห่ง กรรมพันธุ์,ประสบการณ์,การเรียนรู้ในสังคม และอื่นๆอีกหลายประการ แต่พรหมวิหาร 4 ก็เป็น "มรรค" หรือจะกล่าวว่า เป็นมรรค แห่งการขจัดอาสวะทั้งหลาย เป็นหนทาง หนทางหนึ่งที่จักนำผู้ปฏิบัติ ผู้ศึกษา บรรลุขั้นอริยะบุคคลได้ เหตุเพราะ พรหมวิหาร 4 เป็นสภาพกาล อีกสภาพกาลหนึ่ง ที่จะเกิดขึ้นภายในสรีระร่างกายของเรา ต่างจากความคิด ต่างจากความรู้ความเข้าใจ ต่างจาก ระลึกดำริ
สภาพสภาวะจิตใจทั้ง 4 ประการนั้น จักต้องมีเหตุ และปัจจัยต่างๆเอื้ออำนวยให้สภาพสภาวะจิตใจทั้ง 4 ประการแห่งพรหมวิหาร 4 เกิดขึ้น หากเกิดขึ้นมากหรือ สภาพสภาวะจิตใจแห่งพรหมวิหาร 4 นั้นมีมากเกินควร ก็อาจเป็นอันตราย หรือเป็นทุกข์ ทั้งต่อตัวเองและผู้อื่น หากมีน้อย ก็อาจเป็นอันตราย หรือเป็นทุกข์ต่อตัวเองและผู้อื่นได้เช่นกัน
พอท่านทั้งหลายอ่านมาถึงจุดนี้ย่อมเกิดความคิดขึ้นมาว่า ความพอดีแห่งสภาพสภาวะจิตใจแห่งพรหมวิหาร 4 อยู่ตรงไหนกันละ
สภาพสภาวะจิตใจแห่งพรหมวิหาร 4 อันไม่ตึงไม่หย่อนหรือจะมากหรือจะน้อยนั้น ย่อมก่อให้เกิดความคิด(จุดนี้พิจารณา) ก่อให้เกิดการกระทำ แต่ ความคิดหรือ การกระทำเหล่านั้น ย่อมอยู่ในบรรทัดฐานแห่งการสังคมเป็นอยู่ร่วมกัน ย่อมอยู่ในบรรทัดฐานแห่งกฎหมาย ระเบียบ จารีต วัฒนธรรม ประเพณี ของแต่ละท้องถิ่น สิ่งเหล่านั้น เป็นความไม่ตึงไม่หย่อน เหตุเพราะ จารีตวัฒนธรรมประเพณีนั้น ได้มีการแบ่งโซน หรือแบ่งเวลา หรือแบ่งการกระทำไว้เป็นอย่างดีแล้ว อย่างนี้เป็นต้น และถึงแม้ปัจจุบัน ค่านิยม และจารีตประเพณีบางส่วนจะเลือนหายไป หรือแปรเปลี่ยนไปตามกาลเวลา แปรเปลี่ยนไปตามกระแสวัตถุนิยม แต่ก็ยังมีส่วนที่เป็นจารีตวัฒนธรรมประเพณีและค่านิยมที่ดีแห่งสังคมหลงเหลือและสถิตอยู่ในสภาพสภาวะจิตใจและความคิดของสิ่งที่เรียกตัวเองว่ามนุษย์ เป็นส่วนใหญ่
สภาพสภาวะจิตใจอันได้แก่ พรหมวิหาร 4 นี้ จะเกี่ยวข้องเกี่ยวโยงกับการดำเนินชีวิตของสรรพสิ่งไม่ว่าเป็นเผ่าพันธุ์ใดใดก็ตาม ย่อมหนีไม่พ้นสภาพสภาวะจิตใจแห่งพรหมวิหาร 4
และที่กล่าวไปทั้งหมดแล้วนั้น เป็นแนวทางในการคิดพิจารณาแบบกว้างๆเกี่ยวกับหลักการหรือธรรม ในหมวด พรหมวิหาร 4 อันเป็นหลักการหรือธรรมหนึ่งในจำนวน หลายหมวดบทเรียนแห่ง พระพุทธองค์ ฉะนี้ (จบตอนที่ 1)
โดยคุณ : ลุงใหญ่ - [ 16 ต.ค. 2004 , 18:39:13 น. ]

ขอเชิญร่วมเสนอแนะความคิดเห็นครับ
จาก :
email :
icq :
รายละเอียด



กรุณาคลิ๊ก Post message เพียงครั้งเดียวครับ....